เที่ยวภูกระดึง

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติภูเรือ


ภูเรือ
ข้อมูลทั่วไป 
อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือมีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูงเป็นภูผาสีสันสะดุดตาหินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “กว้านสมอ” โดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตร 

อุทยานแห่งชาติภูเรือในปี พ.ศ. 2519 อธิบดีกรมป่าไม้ เดินทางมาราชการที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง นายสุจินต์ เพชรดี ปลัดจังหวัดเลย ได้ให้ความเห็นว่า ควรส่งเสริมป่าภูเรือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด จากนั้นจังหวัดเลยจึงให้ทางอำเภอภูเรือสำรวจพื้นที่ป่าภูเรือ ซึ่งอำเภอภูเรือได้รายงานถึงจังหวัดเลยว่า พื้นที่ป่าภูเรือมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามสำคัญหลายแห่ง เช่น ป่าไม้ น้ำตก ทิวทัศน์ เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นของป่าภูเรือ ท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ปรากฏว่า ป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าหมายเลข 23 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ให้รักษาไว้ให้เป็นป่าถาวรของชาติ 

พื้นที่ป่าภูเรือประกอบด้วยทิวเขาสูง สลับซับซ้อนเรียงรายเป็นรูปต่างๆ น่าพิศวงสลับกับที่ราบเป็นบางส่วน สาเหตุที่ขนานนามว่า “ภูเรือ” เพราะมีภูเขาลูกหนึ่งมีชะโงกผายื่นออกมาดูคล้ายสำเภาใหญ่ และที่ราบบนยอดเขามีลักษณะคล้ายท้องเรือตลอดจนมีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ 

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลอาชี ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ และตำบลลาดค่าง ตำบลหนองบัว ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2522 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 16 ของประเทศ
อุทยานแห่งชาติภูเรือลักษณะภูมิประเทศ 
อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาหินทรายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นหินแกรนิตสลับกันไป ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้มีที่ราบสูงสลับกับ ยอดเขาสูงทั่วไป มียอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดภูเรือ มีความสูงถึง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยังมียอดเขาที่สำคัญ คือ ยอดเขาภูสัน มีความสูง 1,035 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดภูกุ มีความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะเช่นนี้เองจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญก่อให้เกิดลำธารหลายสาย เช่น ห้วยน้ำด่าน ห้วยบง ห้วยเกียงนา ห้วยทรายขาว ห้วยติ้ว และห้วยไผ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกห้วยไผ่ที่สวยงามแห่งหนึ่ง

ลักษณะภูมิอากาศ 
ด้วยอุทยานแห่งชาติภูเรืออยู่ที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศไทย และอยู่บนยอดเขาสูง จึงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “แม่คะนิ้ง” ผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น
ผาโหล่นน้อยพืชพรรณและสัตว์ป่า 
ภูเรือ มีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันอย่างสวยงาม ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนเขา โดยเฉพาะยอดภูเรือ ประกอบด้วยป่าสนเขา สลับกับสวนหินธรรมชาติแซมด้วยพุ่มไม้เตี้ย สลับด้วยทุ่งหญ้าเป็นระยะ ไม้พื้นล่างที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กุหลาบป่า มอส เฟิน และกล้วยไม้ที่สวยงาม เช่น ม้าวิ่ง สามปอย ไอยเรศ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องเงิน ซึ่งขึ้นตามต้นไม้และโขดหิน กล้วยไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งให้ชมสลับกันไปตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ ป่าภูเรือยังมีสัตว์ป่าที่ชุกชุมพอสมควร ที่พบบ่อย เช่น หมี เก้ง กวางป่า หมูป่า หมาไน ลิง พญากระรอกดำ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ป่า และชุกชุมไปด้วยกระต่ายป่า เต่าเดือย เต่าปูลูและนกชนิดต่างๆ ที่สวยงามอีกมากมาย โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะอพยพมาจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก
ยอดภูเรือผาโหล่นน้อย 
เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม สามารถมองเห็นภูหลวง ภูผาสาด ภูครั่งและทะเลภูเขา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร
กิจกรรม :ชมทิวทัศน์
ผาซำทองหรือผากุหลาบขาว 
เป็นหน้าผาสูงชันและเป็นแหล่งน้ำซับ ประกอบกับมีไลเคนที่มีสีเหลืองคล้ายสีทอง ซึ่งเรียกว่า “ผาซำทอง” เป็นจุดชมทิวทัศน์อีกจุดหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติตามเส้นทางที่จะไปผาโหล่นน้อยประมาณ 2.5 กิโลเมตร
น้ำตกห้วยไผ่ 
เป็นน้ำตกสูงชัน สูงประมาณ 30 เมตร สายน้ำพุ่งแรงใสสะอาด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการใช้ทำน้ำประปาในอำเภอภูเรือ
ยอดภูเรือ 
เป็นจุดที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่สูงประมาณ 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นหน้าผาสูงชัน พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าสนเขา ทั้งสนสองใบและสนสามใบ สลับกับลานหินธรรมชาติ ต้องเดินขึ้นเขาจากผาโหล่นน้อยมาประมาณ 700 เมตร จากจุดนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามได้รอบด้านกระทั่งเห็นแม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นพรมแดนไทย – ลาว บนยอดเรือยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาวาบรรพต ซึ่งชาวภูเรืออัญเชิญมาจากอยุธยาด้วย จากยอดภูเรือมีเส้นทางเดินป่าผ่านบริเวณที่มีดอกไม้เล็กๆ เช่น กระดุมเงิน ดาวเรืองภู เปราะภู ซึ่งออกดอกสวยงามในช่วงหน้าหนาว ที่ป่าสนบริเวณ ทุ่งกวางตาย มีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม นอกจากนั้นยังมี ลานหินพานขันหมาก เป็นลานหินแตกเป็นรอยตื้นๆ ที่จะพบดอกไม้ที่ชอบขึ้นตามลานหิน เช่น เอื้องม้าวิ่ง อยู่ทั่วไป เส้นทางเดินป่าจะวกกลับไปลานกางเต็นท์ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติภูเรือสวนหินพาลี 
เป็นลานหินกว้างใหญ่ เต็มไปด้วยก้อนหินรูปทรงแปลกตาตั้งอยู่เรียงราย บางก้อนคล้ายเสาหินสูง บางก้อนคล้ายดอกเห็ด สวนหินพาลีอยู่ใกล้บริเวณลานกางเต็นท์
กิจกรรม :เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ถ้ำไทร 
อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ภูสน) ประมาณ 500 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ้ำไทรเป็นถ้ำหินทราย ปากทางเข้าถ้ำจะแคบมากต้องลงในทางดิ่งประมาณ 30 เมตร เมื่อถึงที่ราบภายในถ้ำจะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ภายในถ้ำประกอบด้วยหินทรายเป็นแผ่นๆ ซึ่งจะอยู่ตามเพดานถ้ำ ส่วนพื้นล่างจะเป็นลักษณะเม็ดทรายที่ไหลมากับน้ำ และในบริเวณปลายสุดของถ้ำจะมีสายธารน้ำไหลตลอดเวลา บางช่วงจะมีลักษณะเป็นน้ำตกที่เกิดภายในถ้ำ และเมื่อสายน้ำกระทบแสงไฟจะเกิดเป็นประกายที่สวยงาม ภายในถ้ำจะมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ 
อุทยานแห่งชาติยังมีจุดเด่นที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น ลาดหินแตก หินค้างหม้อ หินวัวนอน หินพระศิวะ สวนหินเต่า ศาลารับเสด็จ ลาดเหมือนแอ ลานสาวเอ้ ทุ่งหินเหล็กไฟ น้ำตกแก่งสุข และสระสวรรค์ ตามตำนานรักภูทุ่ง (ภูเรือ) และภูครั่ง เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติภูเรือสถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติภูเรือ
ต.หนองบัว อ. ภูเรือ จ. เลย 42160
โทรศัพท์ 0 4288 1716, 0 4288 4144
การเดินทาง 
รถยนต์ 
จังหวัดเลยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 558 กิโลเมตร จากจังหวัดเลยเดินทางไปโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 203 ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอภูเรือ จากนั้นเดินทางต่อไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 7 หลัง
อุทยานแห่งชาติภูเรือสถานที่กางเต็นท์/เต็นท์ อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการ การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนสามารถใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานแห่งชาติ โดยมีอัตราค่าบริการ ดังนี้ 
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน









                                 

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา



pimay1
ป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดในเขมรปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม เมื่อชมปราสาทหินพิมายแล้วควรแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ซึ่งจัดเก็บโบราณวัตถุที่สำคัญจากปราสาทแห่งนี้ไว้ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณใกล้กัน
ประวัติ : สร้างขึ้นเีพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมแผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761)มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอมใน พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ.2494และ พ.ศ.2497กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศษ จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2507-2512  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี

pimay3ที่ตั้งและการเดินทาง : อำเภอพิมายห่างจากโคราชประมาณ 60 กม.
รถยนต์ส่วนตัวจากตัวเมืองโคราชใช้ถนนมิตรภาพ หรือทางหลวงหมายเลข 2โคราช-ขอนแ่ก่น
ประมาณ 50 กม.พบทางแยกตลาดแคให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 206 อีก 10 กม.จะถึงปราสาทหินพิมายซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย
รถประจำทาง ขึ้นรถโดยสารโคราช-พิมาย ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ในตัวเมืองโคราชมีทั้งรถปรับอากากาศและรถธรรมดา รถจอดหน้าปราสาทหินพิมาย
สิ่งน่าสนใจ : ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ไปทางที่ตั้งของเมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 ม.ยาว1,030 ม.ล้อมรอบด้วยคูน้ำมีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหิน มีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่งโดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าตามลำดับดังนี้

คลังเงิน จากประตูชัยเข้าไปก่อนถึงตัวปรางค์จะเห็นคลังเงินอยู่ทางทิศตะวันตก หรือทางด้านซ้ายมือปัจจุบัน อาคารคลังเงินเหลือเพียงซากฐานอาคารขนาดใหญ่ ที่เรียกอาคารหลังนี้ว่า คลังเงิน เพราะเคยพบเหรียญสำริดโบราณซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปครุฑหรือหงส์อีกด้านอีกด้านเป็นอักษรโบราณ นอกจากนี้ยังพบทับหลังจำหลักเป็นรูปคนกำลังหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์
สะพานนาค เป็นทางที่ทอดนำไปสู่ตัวปรางค์มีนาคทอดตัวยาวเป็นราวบันได ชูเศียรทั้งเจ็ดแผ่พังพานเปล่งรัศมีอย่างสวยงาม นาคเป็นสัตว์มงคลที่พบตามโบราณสถาน ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์ซึ่งเชื่อว่านาคทอดร่างเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์
ที่เชิงบันไดนาคทั้งสองข้างมีสิงห์จำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถานลักษณะทางศิลปกรรมของสิงห์และนาคนี้ คล้ายศิลปะที่นครวัดที่สร้างในช่วงรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656-1688)
ซุ้มประตู หรือโคปุระชั้นนอก มีทั้งหมดสี่ด้านอยู่กึ่งกลางแนวกำแพงลักษณะสร้างเหมือนกันทุกด้าน คือมีฐานกว้างสามคูหามีเสาศิลา ช่องลมประดับข้างละสองช่อง เคยพบทับหลังชิ้นหนึ่งที่โคปุระทิศตะวันตก สลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานบนคานหาม ทับหลังชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
pimayพระระเบียง เมื่อมาถึงระเบียงก็ถือว่าเข้าสู่เขตชั้นในของปราสาทหินแล้ว พระระเบียงแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระชั้นในอยู่กึ่งกลางที่น่าสนใจ คือกรอบประตูด้านทิศใต้ที่มีจารึกบนแผ่นหินเป็นอักษรเขมรโบราณกล่าวถึงการสร้างเมืองพิมาย และการสร้างรูปเคาพร จากพระระเบียงจะเข้าสู่ชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปราสาทพิมาย มีปรางค์สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน คือปรางค์ประธานปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง
ปรางค์ประธาน มีขนาดใหญ่ที่สุด สร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทขอมแห่งอื่นๆ สันนิษฐานว่าหันไปทางเมืองพระนคร สลักลวดลายต่างๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายประจำยาม ก่อด้วยหินทรายสีขาวทำเป็นชั้นซ้อนขึ้นไปห้าชั้น ส่วนยอดสลักเป็นรูปครุฑแบกทั้งสี่ทิศ เหนือขึ้นไปสลักเป็นรูปเทพประจำทิศต่างๆและรูปดอกบัว ทับหล้งและหน้าบันที่ประดับองค์ปรางค์ประธานส่วนใหญ่เล่าเรื่องรามายณะ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ เช่นหน้าบันทิศใต้ หรือด้านหน้าก่อนเดินเข้าในองค์ปรางค์เป็นภาพศิวนาฏราชหรือพระศิวะฟ้อนรำ 108 ท่าในศาสนาฮินดูเชื่อว่า  เมื่อใดที่พระศิวะฟ้อนรำผิดจังหวะ เมื่อนั้นโลกจะเกิดกลียุค นอกจากนี้ยังมีทับหลังที่จำหลักภาพอันเป็นหลักฐานสำคัญว่าปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา คือภาพพุทธประวัติตอน " มารวิชัย"  และพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
ปรางค์พรหมทัต ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761) เมื่อคราวที่พระองค์ทรงบูรณะปราสาทหินพิมาย ภายในปรางค์พบประติมากรรมศิลารูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต แต่นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นพระบรมรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพบผู้หญิงนั่งคุกเข่าที่ชาวบ้านเรียกว่า  นางอรพิมพ์ ในตำนานอรพิมพ์ ปาจิตต ซึ่งเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น จนกลายเป็นชื่อบ้านนามเมืองในย่านพิมาย เช่นคำว่า"พี่ชายมา"ในเรื่องที่จะเล่าต่อไปก็เชื่อกันว่าเป็นที่มาของชื่อ "พิมาย"
นางอรพิมพ์ เป็นลูกสาวชาวบ้านหน้าตาสะสวย เมื่ออายุได้ 16 ปีได้อยู่กินกับปาจิตต แห่งเมืองพรหมพันธุ์นคร ระหว่างที่สามีไม่อยู่ พรหมทัตกุมารกษัตริย์เมืองแห่งหนึ่ง ได้เสด็จประพาสป่ามา พบนางอรพิมพ์โดยบังเอิญ จึงไดเอานางไปอยู่ด้วย แต่เมื่อพรหมทัตกุมารเข้าใกล้นางจะร้อนเป็นไฟ เมื่อปาจิตตกุมารกลับมาได้ออกตามหาและได้ใช้อุบายว่า เป็นพี่ชายมาพบน้องสาว นางอรพิมพ์จึงบอกกับพรหมทัตกุมารว่า" พี่ชายมา"และสามารถปลิดชีวิตพรหมทัตกุมารได้สำเร็จแล้วพากันหนีออกมาได้ จึงเป็นเรื่องเล่าขานกันสืบมา
pimay6
ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ด้านขวาของปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายสีแดง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 2 ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายและ ได้พบศิวลึงค์ในหอพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ติดกับปรางค์หินแดงถึงเจ็ดองค์ จึงสันนิษฐานว่าจะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์
บรรณาลัย เป็นอาคารก่อด้วยหินทราย สีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ตั้งอยู่ใกล้ซุ้มประตูทิศตะวันตก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บรักษาตำราทางศาสนา หรืออาจจะเป็นที่ประทับของกษัตริย์ที่เสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรม
สระน้ำ หรือบาราย โบราณสถานเขมรมักมีสระน้ำหรือภาษาเขมรเรียกว่า บาราย เป็นสระที่ขุดขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้อุปโภคบริโภค บางคนก็เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมบริเวณเมืองพิมายมีบารายอยู่หลายแห่ง ที่อยู่ในกำแพงเมืองคือ สระแก้ว สระพรุ่ง และสระขวัญ นอกกำแพงเมืองคือ สระเพลง อยู่ทางทิศตะวันออก สระโบสถ์ อยู่ทางทิศตะวันตก

ประตูชัย เป็นหนึ่งในประตูเมืองซึ่งมีอยู่ทางสี่ทิศ ประตูชัยอยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมายรับกับถนนโบราณที่ทอดมาจากเมืองพระนครในเขมร มีแผนผังการก่อสร้างเหมือนกันทุกประตู คือเจาะเป็นช่องสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลงด้านข้างทั้งสองด้านของประตูมีห้องอยู่สามห้อง เทคนิคการสร้างอยู่ในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และสันนิษฐานว่าคงได้รับการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
pimay4กุฏิฤาษี บริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน กุฏิฤาษีเชื่อว่าเป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นช่วงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอม พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างอโรคยาศาลตามเส้นทางโบราณไว้จำนวนมาก ปัจจุบันเหลือเพียงซากกำแพงศิลาแลงกับปราสาทเท่านั้น
ท่านางสระผม เป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่ริมลำน้ำเค็มทางทิศใต้ของเมือง เดิมทีเป็นเพียงเนินดินใหญ่ที่มีเศษภาชนะดินเผาและเศษกระเบื้อง กระทั่งได้รับการขุดแต่งใน พ.ศ.2531จึงพอเห็นรูปรอยว่าเป็นอาคารทรงกากบาทก่อด้วยศิลาแลงมีฐานเป็นชั้นๆ และพบร่องรอยหลุมขนาดเล็กอยู่ที่มุมอาคารทุกจุดนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็น ศาลาจัตุรมุขซึ่งเป็นท่ารับเสด็จเจ้านายทางฝั่งพิมาย เพราะเป็นท่าน้ำแห่งเดียวที่อยู่ในแนวถนนโบราณ ห่างจากท่านางสระผมไปเล็กน้อยมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 200 ม. ยาว 400 ม.เรียกว่าสระช่องแมว แต่ไม่ปรากฎเรื่องราวว่ามีความสำคัญใด







แผนที่


วัดพระแก้วมรกต

 

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระแก้วมรกต วัดสำคัญที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์





 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗
     เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

     รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
     เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป




พระอุโบสถ
สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน


ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
     ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)
พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน
     เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร
     เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก
     พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ
     บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป
     หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี












 ข้อมูลวัด
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง เขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก ติดท้องสนามหลวง
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญ :วัดคู่กรุง, ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)
สังกัดคณะสงฆ์ :ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา (ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง)
พระประธานในพระอุโบสถ : พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง :  วัดพระแก้ว 
  พระบรมมหาราชวัง
แผนที่วัด :คลิ๊กดูแผนที่
ข้อมูลภาษาอังกฤษ :Click !
ข้อมูลภาพ : ภาพพระแก้วมรกต

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย

ข้อมูลทั่วไป
สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ก่อนที่ท่านและคณะจะเดินทางขึ้นเขาขอให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตามลำดับ ดังนี้

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง1. ติดต่อขอเช่าเต็นท์กับเจ้าหน้าที่บ้านพัก และสำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับอนุญษตให้ใช้บ้านพักหรือเต็นท์จากกรมอุทยานแห่งชาติมาแล้วกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่งานบ้านพัก ณ อาคารติดต่อที่พัก ซุ้มหมายเลข 1 ทราบ


2. สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง ติดต่อชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตรา 30 /คน/คืน ณ อาคารติดต่อที่พัก ซุ้มหมายเลข 2 และในกรณีที่เต็นท์ทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงเต็มท่านจะต้องชำระค่าขอใช้สถานที่กางเต็นท์ในอัตราข้างต้นเช่นเดียวกัน และท่านสามารถติดต่อเช่าเต็นท์ได้บนยอดเขา

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง3. สำหรับนักท่องเที่ยวท่านใดหรือคณะใด นำบรรจุภัณฑ์ต่างมา เช่นขวดแก้ว, ขวดพลาสติก, ซองพลาสติก,กล่องกระดาษ หรือ ที่ย่อยสลายเองตามธรรมชาติไม่ได้หรือต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนาน ท่านจะต้องติดต่อมัดจำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงกำหนดไว้ แล้ววันลงเขาให้ท่านนำบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวที่เป็นขยะมารับเงินมัดจำนั้นคืน พร้อมทั้งทางอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจะออกใบประกาศเกียรติคุณให้ท่านเพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้ที่เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์ต่ออุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซุ้มหมายเลข 3
4. ติดต่อจ้างหาบสัมภาระได้ที่อาคารสัมภาระในอัตราราคากิโลกรัมละ 10 บาท ซุ้มหมายเลข 4
5. ชำระค่าธรรมเนียมเดินขึ้นเขาได้ที่ซุ้มจำหน่ายบัตรค่าธรรมเนียม ในอัตราเด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท ในกรณีที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา เมื่อยืนประจำตัวทางอุทยานแห่งชาติ จะเก็บค่าธรรมเนียมขึ้นเขาในอัตรา 10 บาท ผู้สูงอายุตั้งแต่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจะต้องแสดงบัตรประจำตัวของท่านเพื่อไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมขึ้นเขา ซุ้มหมายเลข 5

ลักษณะภูมิประเทศ 
     สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น


ลักษณะภูมิอากาศ 
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี

นอกจากความสวยงามทางธรรมชาติบนภูกระดึงแล้ว พื้นที่ด้านล่างบริเวณเชิงเขาด้านทิศใต้ของภูกระดึงบริเวณพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภด.3 (นาน้อย) ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวตามลำน้ำพองซึ่งประกอบด้วย น้ำตก แก่งหิน พันธุ์พืชที่น่าศึกษาแล้ว เป็นสถานที่พักผ่อนอยู่มากมาย นอกจากนี้ยังคงมีร่องรอยประวัติศาสตร์ของขบวนการเสรีไทย ตลอดทั้งภาพเขียนสีปรากฏบนผนังหินที่มีอายุหลายพันปี ซึ่งสามารถเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 ย้อนกลับไปทางอำเภอภูกระดึงประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง รพช. จากบ้านหนองอิเลิง ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภด.3 (นาน้อย) จากนั้นเดินทางไปตามเส้นทางลูกรังไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อีกมากมาย เช่น 


ผาหล่มสัก อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นลานหินกว้างและมีสนต้นหนึ่งขึ้นชิดริมผาใกล้กับชะง่อนหินที่ยื่นออกไปในอากาศทางทิศใต้ บริเวณผาหล่มสักนี้มองเห็นทิวทัศน์ของเทือกเขาสลับซับซ้อนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นจุดหนึ่งที่จะชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างชัดเจนและงดงามมาก ผู้ที่ไปชมประอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางเวลาเดินกลับที่พัก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง

น้ำตกถ้ำใหญ่ 
ห่างจากน้ำตกเพ็ญพบประมาณ 1 กิโลเมตร เส้นทางเดินไปสู่น้ำตกจะดูใกล้นิดเดียวสำหรับคนชอบธรรมชาติ ชมนกชมไม้ เพราะตลอดเส้นทางครอบคลุมไปด้วยป่าดิบเขาที่มีพรรณไม้ใหญ่และร่มครึ้มกว่าทุกเส้นทางน้ำตกอื่นๆ อาจได้พบต้นส้มกุ้ง (Begonia sp.) ออกดอกเป็นสีชมพู เกสรกลางสีเหลือง ชอบขึ้นตามทางในพื้นที่สูงอย่างป่าดงดิบเขา ในเส้นทางถ้ำใหญ่นี้มีทางเดินบางช่วงที่เลียบข้างลำห้วยเล็กๆ มีต้นเมเปิ้ลอยู่เป็นระยะๆ หากช่วงต้นมกราคม เส้นทางนี้จะแดงฉานด้วยใบเมเปิ้ลที่ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นป่า ความสวยงามของน้ำตกถ้ำใหญ่จะแปลกตาด้วยโขดหินมหึมาวางทับซ้อนไม่เป็นระเบียบ ลำธารนี้ขนาบข้างด้วยต้นเมเปิ้ล ยามเมเปิ้ลแดงล่วงหล่น ขัดสีให้ลำธารหินเขียวสวยงามมีสีสันและมีชีวิตชีวาขึ้นมามากนัก

                                                  แผนที่ 


วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แหลมพรหมเทพ ภูเก็ต





ในบรรดาสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกที่ขึ้นชื่อของเมืองไทย เชื่อแน่ว่านักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยคงต้องนึกถึง “ แหลมพรหมเทพ ” ที่จังหวัดภูเก็ต เพราะมีหลายสิ่งที่แตกต่างไปจากที่อื่นๆ เช่นจุดชมวิวอยู่บนชะง่อนเขา ซึ่งมองเห็นทะเลอันเวิ้งว้างได้รอบทิศ และบริเวณนั้นก็ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นภาพที่มีเสน่ห์ มีมนต์ขลัง ชวนให้หลงไหล


ผมจำไม่ได้ว่าเคยมาที่นี่กี่ครั้ง ที่พอจะนึกออกก็ราว 4-5 ครั้งเห็นจะได้ ครั้งแรกที่มาก็หลายปีมาแล้ว เป็นช่วงที่ภูเก็ตยังไม่เจริญเหมือนปัจจุบัน แหลมพรหมเทพก็นังดูรกๆ เวลาขับรถขึ้นไปชมวิวก็ดูตื่นเต้นเสียวใส้ดี เพราะข้างทางก็ดูโล่งๆ มองเห็นทะเลอยู่เบื้องล่างและไม่มีเครื่องป้องกัน หากขับไม่ดีก็อาจตีลังกาตกหน้าผาได้ แต่ปัจจุบันไม่มีปัญหาแล้ว มีการขยายถนนให้กว้างและโบกปูนทำขอบถนนซะหนาปึก โอกาสพลาดตกเขาก็คงไม่เกิดขึ้น

                                                         แหลมพรหมเทพถือว่าเป็นสถานที่โรแมนติกแห่งหนึ่งของเกาะภูเก็ต หลายคู่มักชวนกันมานั่งชมพระอาทิตย์ตก ดื่มด่ำกับบรรยากาศใน ยามเย็นที่มองเห็นระลอกคลื่นแต่ไกล ทอดอารมณ์และปล่อยความรู้สึกไปกับทะเลที่ระยิบระยับอันกว้างไกล มีท้องฟ้าเป็นฉากขนาดใหญ่ อยู่เบื้องหน้า มองเห็นดวงอาทิตย์ลูกกลมสีแดงสดค่อยๆทอดตัวลงแตะขอบน้ำแล้วก็จมหายไป เหมือนเป็นการปิดฉากละครเวทีของธรรมชาติ ที่หลายร้อยชีวิตกำลังจ้องมองดูอย่างประทับใจ ก่อนที่เวทีขนาดยักษ์นี้จะค่อยๆมึดลงและผู้ชมต่างทะยอยลุกจากที่นั่ง

ปัจจุบันแหลมพรหมเทพ กลายเป็นแหล่งนัดพบของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ ที่พอถึงช่วงเย็น ก็จะมารวมกันที่นี่โดยมิได้นัดหมาย ทั้งรถส่วนตัว รถทัวร์ รถตู้ จอดกันเต็มลาน จนกลายเป็นตลาดนัดที่ขายสาระพัดบนเขาสูงของเกาะภูเก็ต แต่พอหลังพระอาทิตย์ตกผ่าน พ้นไปแล้ว รถทุกชนิดก็มุ่งหน้าลงเขาไปพร้อมๆกัน จากนั้นทุกอย่างก็เข้าสู่ภาวะปกติ แหลมพรหมเทพจึงมีสภาพที่คึกคักในช่วงเวลา เพียงแต่ 2-3 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตกเท่านั้นเอง

เสน่ห์ของแหลมพรหมเทพ จะเขียนบรรยายให้สวยหรูอย่างไรก็ไม่มีความหมาย หากไม่ได้มาเห็นด้วตาตนเอง และโดยส่วนตัวผมแล้ว ก็เห็นว่า ที่นี่แหละ เป็นจุดชมวิว ชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดของประเทศไทย นอกจากคนไทยจะประทับใจแล้ว ชาวต่างชาติไม่น้อยก็พลอยชื่นชมไปด้วย เพราะหากดูนักท่องเที่ยวที่มาที่นี่แล้ว จำนวนไม่น้อยที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งคิดว่า แหลมพรหมเทพ น่าจะเป็นโปรแกรมสำคัญของการท่องเที่ยวบนเกาะภูเก็ต

บางคนบอกว่าแหลมพรหมเทพ เป็นอัญมณีที่ช่วยเติมแต่งให้ ภูเก็ต หรือฉายา “ ไข่มุกแห่งอันดามัน “ มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

ภูเก็ตเป็นจังหวัดเดียวที่มีภูมิประเทศเป็นเกาะ เป็นสถานท่องเที่ยวระดับของโลก และก่อนที่จะโด่งดังถึงขนาดนี้ ก็มีสถานที่สำคัญๆและเป็นที่รู้จักเพียงไม่กี่แห่ง แรกเริ่มก็มีแหล่งเลี้ยงไข่มุกที่มีชื่อเสียง เป็นไข่มุกที่มีคุณภาพดีระดับโลก มีหาดทรายและทะเลที่สวยงามมีแหล่งดำน้ำดูปะการัง มีจุดชมวิวที่สวยงาม ก็คือแหลมพรหมเทพ และสภาพทั่วไปรอบๆเกาะยังเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ก็มีที่อาบแดดอยู่หลายแห่ง ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวต่างก็ประทับใจ และตั้งฉายาว่า" Pearl of Andaman " หรือไข่มุกแห่งอันดามัน

สิ่งสำคัญที่อยู่บนแหลมพรหมเทพอีกอย่างก็คือ ประภาคาร ซึ่งเป็นหอคอยสูง กลางคืนจะเปิดไฟส่องวับวาบ ให้สัญญาณกับเรือที่กำลัง แล่นอยู่กลางทะเล ประภาคารนี้ได้สร้างขึ้นมาใหม่ในช่วงเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก 50 ปี มีชื่อว่า “ ประภาคารกาญจนาภิเษก ” และตรงจุดนี้ก็เป็นที่รายงานเวลาพระอาทิตย์ตกของประเทศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในช่วงข่าวตอนเย็นๆ

แหลมพรหมเทพสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ทุกครั้งที่มาเที่ยวอาจเห็นภาพและบรรยากาศที่แตกต่าง กันออกไป หากวันใดมีฟ้าใสไร้เมฆ ก็จะเห็นภาพอาทิตย์ลูกกลมๆสวยงาม หรือหากวันใดมีเมฆมากก็จะเห็นภาพไปอีกแบบหนึ่ง การมาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่จึงเห็นความงดงามที่ไม่ซ้ำกัน