เที่ยวภูกระดึง

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฟาร์มโชคชัย



    


ฟาร์มโชคชัยสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ-ปากช่อง กิโลเมตรที่ 159-160เป็นฟาร์มโคนม ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย เปิดกิจการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจนได้รับรางวัล แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรดีเด่น รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ครั้งที่ 4 ปี 2545 ที่จะนำทุกท่านเข้าร่วมสัมผัส กลิ่นไอของการทำ ฟาร์มโคนมมาตรฐานขนาดใหญ่ในสถานที่ประกอบการจริงโดยมีผู้นำชมตลอดรายการ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่นี่จะได้พบกับฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ ฟาร์มแห่งการเรียนรู้ โดยท่านจะได้สัมผัสกับ บรรยากาศ ประสบการณ์ และสาระความรู้ พร้อมทั้งได้รับความเพลิดเพลิน ในวิถีชีวิตของเกษตรกร มาตรฐาน ธุรกิจ ฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ อาทิ เช่น การรีดนมวัวด้วยตัวเอง การมีส่วนร่วมในการผลิต ไอศกรีมนมสด อื้ม !! มิลค์ ไอศกรีมนมสดที่ให้คุณมีส่วนร่วมในการผลิต การแสดงวิถีคาวบอย การชมลีลาของสุนัข ต้อนแกะ การป้อนนมลูกวัว ด้วยตัวเอง และอื่นๆ อีกมากมาย ในฟาร์ม โดยกิจกรรมต่างๆ จัดขึ้นบนสถานประกอบธุรกิจ ฟาร์มโคนมจริงๆใน มาตรฐานการเข้าชมแบบหมู่คณะ โดยแบ่งเป็น รอบๆ ของการให้บริการ นอกจากนี้ที่ฟาร์มโชคชัยยังให้บริการที่พัก


                               


กิจกรรมและการแสดงต่างๆในฟาร์มโชคชัย จะแบ่งให้ชมเป็นรอบ ดังนี้

  • ชมวีดีทัศน์ประกอบคำบรรยายเกี่ยวกับฟาร์มโชคชัยในอดีต และทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ภายในบริเวณฟาร์ม
  • ชมพิพิธภัณฑ์เครื่องจักรและรถใช้งานในสมัยที่เริ่มบุกเบิกฟาร์ม
  • ชมการรีดน้ำเชื้อจากโคพ่อพันธุ์ ที่แข็งแรงสมบูรณ์ในเหตุการณ์จริง และเกร็ด ความรู้ของการผสมเทียม
  • ชมการรีดนมโคด้วยเครื่องรีดนมอัตโนมัติและร่วมกิจกรรมรีดนมด้วยมือของตัวท่านเอง
  • เยี่ยมชมโรงงานผลิตนมและโรงงานผลิตไอศกรีม ท่านจะได้เรียนรู้กระบวนการผลิตนมสดพาสเจอร์ไรส์ และไอศกรีม รสชาติต่างๆ พร้อมชิมลิ้มรสไอศกรีมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของฟาร์มภายใต้ชื่อ "อืมม!... มิลค์"
  • นำท่านนั่งขบวนรถคาราวาน “ฟาร์มแทร็กเตอร์” ชมความยิ่งใหญ่ของฟาร์มโชคชัย บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของ 20,000 ไร่ผ่านคอกแม่โคพันธุ์ดี ฟังความรู้เกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์และวิธีการหมุนเวียนทรัพยากรน้ำภายในฟาร์ม ชมทัศนียภาพท้องทุ่งกว้าง การปลูกพืชอาหารสัตว์ แปลงหญ้า แปลงข้าวโพดเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ บ่อหญ้าหมัก และทุ่งดอกทานตะวันซึ่งเมล็ดใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ภายในฟาร์ม
  • ตื่นตาตื่นใจกับการต้อนฝูงโคแบบคาวบอย และท่านยังสามารถร่วมสนุกกับการขี่ม้าถ่ายรูปหรือจะถ่ายรูปกับทุ่งทานตะวันหรือสวนแก้วมังกร ตามแต่อัธยาศัย และชมการแสดงของคาวบอยในรูปแบบของฟาร์มโชคชัย และร่วมเล่นเกมส์ต่างๆ มากมาย
  • ชมความสามารถของสุนัข ในการต้อนฝูงแกะ ในรูปแบบต่างๆ ระหว่างทาง ชมฟาร์มม้าแข่งสายพันธุ์ดีจาก ต่างประเทศ
  • สุดท้าย เพลิดเพลินกับสวนสัตว์ขนาดย่อม ซึ่งรวมกิจกรรมหลากหลาย เช่น ป้อนอาหารกวาง  กระต่าย ป้อนนมลูกโคฯลฯ รวมทั้งการแสดงบนเวทีของสัตว์แสนรู้ต่างๆ มากมาย

รายละเอียดการเข้าชม

ค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 250 บาท เด็ก 120 บาท (สูงไม่เกิน 140 ซ.ม.) - มีรถฟาร์มแทร็กเตอร์บริการ พร้อมเจ้าหน้าที่นำชม - วันอังคารถึงวันศุกร์ 10.00 น. / 14.00 น. ทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดต่อเนื่อง 09.00น. / 10.00 น. / 11.00 น. /13.00 น. / 14.00 น. / 15.00 น.
- สำรองที่นั่งล่วงหน้าก่อน 3 วัน ได้ที่ กทม. โทร. 0-2532-2846-8 ต่อ 135, 0-2523-9103
- ฟาร์มโชคชัย โทร. 0-4432-8485 ต่อ 116, 0-4432-8386 www.farmchokchai.com 
หมายเหตุ 
1. วันเวลาและกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม และอาจเปิดรอบเสริมได้ 
2. เปิดให้เข้าชมเป็นรอบ โดยมีเจ้าหน้าที่นำชม
3. หยุดทุกวันจันทร์ 
4. ใช้เวลาประมาณ 2 ช.ม.ครึ่งต่อ 1 รอบ
5. รับได้จำนวนจำกัดเพียง 80 ท่านต่อรอบ

การเดินทางไปฟาร์มโชคชัย

1.โดยรถส่วนตัว
ห่างจากตัวเมืองไปทาง อ.ปากช่อเป็นระยะทาง 85 กิโลเมตร ไปตามถนนมิตรภาพ-ปากช่อง ตรงหลักกิโลเมตร
ที่ 159 สังเกตจากป้ายบอกทางจะมีบอกเป็นระยะ

แผนที่ฟาร์มโชคชัย






บึงบอระเพ็ด



         


การท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด อีกหนึ่งกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 132,737 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง ในอดีตบึงบอระเพ็ดได้ชื่อว่าเป็น "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เพราะมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำอยู่มากมาย 

     จากการสำรวจพบว่ามีสัตว์อาศัยอยู่ประมาณ 148 ชนิด พืช 44 ชนิด เคยพบสัตว์หายากที่นี่ ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ปลาเสือตอ ในเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมจะมีนกเป็ดน้ำจำนวนมากอพยพมาที่บึงแห่งนี้ มีนกประจำถิ่นหลายชนิด อาทิ นกเป็ดน้ำ นกอีโก้ง นกอีแจว นกปากห่างซึ่งจะวางไข่ในเดือนกรกฎาคม-มีนาคม พื้นที่บางส่วนได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า บึงบอระเพ็ดอยู่ในความดูแลของกองอนุรักษ์สัตว์ป่า และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา โดยกรมประมงได้มาตั้งสถานีพัฒนาประมงบึงบอระเพ็ดไว้ด้วย 

     จุดที่น่าสนใจ คืออาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงบอระเพ็ดเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นอาคารรูปทรงเรือกระแชงแห่งเดียวในประเทศไทย กว้าง 37 เมตร ยาว 49 เมตร มีอุโมงค์ปลายาว 24 เมตร แสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดกว่า 100 ชนิด พร้อมพันธุ์ปลาน้ำเค็มอีกหลายพันธุ์ มีบ่อปลา Touch Pool ให้สัมผัสใกล้กับปลาฉลามกบ เม่นทะเลฯ เปิดทุกวันเวลา 10.00-18.00 น. ชมการดำน้ำให้อาหารปลาวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00 น. และ 15.00 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 20 บาท นักเรียนในเครื่องแบบและพระภิกษุ 20 บาท 

     นอกจากนี้ยังมีการแสดงจระเข้ ละครลิงคุณประกิต การล่องเรือชมทัศนียภาพ ดูนกนานาชนิดซึ่งเช่าเรือที่ท่าเรือบึงบอระเพ็ด มีหาดทรายเทียมสำหรับเล่นน้ำ บานานาโบท เจ็ทสกี ศูนย์สินค้า OTOP และบริการบ้านพัก เต็นท์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด หรือสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ซึ่งเป็นที่ตั้งของชมรมดูนกจังหวัดนครสวรรค์ โทร. 0 5630 0040 เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. หรือศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด โทร. 0 5627 4525 www.buengboraphet.com 

     การเดินทาง จากตัวเมืองนครสวรรค์ไปบึงบอระเพ็ด สามารถไปได้หลายเส้นทาง ทางเรือ จากตลาดท่าน้ำเทศบาลเมืองนครสวรรค์ไปตามลำน้ำน่านผ่านขึ้นไปทางเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงปากคลองหนองดุก เมื่อลอดใต้สะพานรถไฟเข้าไปก็จะถึงบริเวณบึง 

     ทางรถยนต์ 
สามารถเข้าถึงบึงบอระเพ็ดได้ 2 ด้าน คือ 

     1) ด้านเหนือ ไปตามเส้นทางสายนครสวรรค์-ชุมแสง ทางหลวงหมายเลข 225 ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาอีก 2 กิโลเมตร เข้าไปยัง สถานีพัฒนาประมงน้ำจืดบึงบอระเพ็ด ในบริเวณมี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จัดแสดงตู้ปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ เช่น ปลากระโห้ ปลากระเบนขาว ปลากะพงขาว ปลาเทโพ ปลายี่สก ฯลฯ เปิดให้ชมฟรี ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ยกเว้น วันพุธ 

     นอกจากนี้ยังมีบ่อเพาะพันธุ์จระเข้ มีเรือหางยาวนำชมบึง เรือลำเล็กจุได้ 5 คน ไม่รวมคนขับ ราคา 400 บาท เรือลำใหญ่จุได้ 10 คน ราคา 500 บาท เรือจะล่องไปถึงเกาะลัดและกลับใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถนำอาหารไปรับประทานบนเรือได้ มีเรือบริการระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. แต่ถ้าล่องในช่วงแปดถึงเก้าโมงเช้าจะพบนกได้ง่ายกว่า สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีพัฒนาประมงน้ำจืดบึงบอระเพ็ด โทร. 0 5627 4501, 0 5623 0183 

     2) ด้านทิศใต้ของบึงบอระเพ็ด จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 3001 สายนครสวรรค์-ท่าตะโก ประมาณ 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายอีก 4 กิโลเมตร ถึง อุทยานนกน้ำ หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในบริเวณที่ตั้งสำนักงานมีสวนพักผ่อน มีนกหลายชนิดให้ชม 

           






ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี

ความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดง

     จังหวัดอุดรธานีมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด คือ หนองหาน มีพื้นที่ประมาณ ๒๒,๕๐๐ ไร่ หรือ ๓๖ ตารางกิโลเมตร มีความยาวของคันดินรอบหนองหาน
ยาวถึง ๘๐ กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอกุมภวาปีเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนอยู่ในเขตอำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอกู่แก้ว เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภค
บริโภคของชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหาน จนได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ ชุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

      หนองหาน นอกจากจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำ จำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหานได้พึ่งพาเป็นแหล่งอาหารแล้วนั้น ยังมีระบบนิเวศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นที่สนใจของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้ว ธรรมชาติของหนองหาน ยังได้บรรจงสร้างทะเลบัวแดงเพิ่มความงดงามให้แก่หนองหานมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ดอกบัวแดงในหนองหานซึ่งมีจำนวนมากจะงอกงามโผล่จากน้ำขึ้นมา โดยเริ่มจากเดือนตุลาคมบัวเริ่มแตกใบและเริ่มออกดอกตูมและบานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บัวจะออกดอกมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และค่อย ๆ ลดปริมาณลงในเดือนมีนาคม ดอกบัวจะบานในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะมองเห็นดอกบัวแดงบานเต็มท้องน้ำหนองหานสุดลูกหูลูกตางดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่าทะเลบัวแดง
      
ตำนานรักพญานาค:เมืองล่มจมบาดาลที่หนองหาน

          มีหมู่บ้านที่อยู่ติดริมหนองหานและอยู่ในอาณาบริเวณรวมแล้วประมาณ ๖๐ หมู่บ้านจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าหนองหานมีความกว้างใหญ่เพียงใดและมีตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาคที่มีชื่อเสียงว่า ตำนานผาแดงนางไอ่ ซึ่งคนในชุมชนยังมีความเชื่อในตำนานเรื่องนี้สืบต่อกันมายาวนาน 
           ตำนานโบราณเกี่ยวกับหนองหานที่เล่าขานกันมาตั้งแต่โบราณ กล่าวไว้ว่า นางไอ่เป็นธิดาของพระราชาเมืองขอม ซึ่งมีสิริโฉมงดงาม เป็นที่หมายปองของเจ้าชายเมืองต่าง ๆ มีอยู่ปีหนึ่ง เมืองขอมประสบปัญหาฝนแล้ง เจ้าเมืองขอมจัดการแข่งขันบั้งไฟ และมีการจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายขอฝน และหากบั้งไฟของใครขึ้นสูงที่สุด จะยอมยกธิดา คือนางไอ่คำ ให้เป็นภรรยา มีเจ้าชายจากนครต่าง ๆ เข้าแข่งขัน รวมทั้งท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโพง 
 


ฝ่ายท้าวภังคี โอรสของพญานาค ในนครบาลดาล ทราบข่าว ก็ยกพลพญานาคปลอมตัวเป็นคนเข้ามาเข้าแข่งขันด้วย บั้งไฟของพญานาคภังคีไม่ชนะ แต่เมื่อภังคีได้ยลโฉมนางไอ่คำก็ไม่สามารถจะถอนใจรักได้ จึงปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาในสวนดอกไม้ของนางไอ่คำ ด้วยเคราะห์แต่ชาติปางก่อน นางไอ่คำเกิดคิดวิปริต ต้องการบริโภคเนื้อกระรอกเผือก จึงสั่งให้นายพรานตามล่ามาปรุงอาหาร และนายพรานก็ยิงกระรอกเผือกได้ ก่อนตายได้อธิษฐานว่า ใครก็ตามที่ได้บริโภคเนื้อของตนจงจมน้ำตายในบาดาล นางไอ่คำได้นำเนื้อกระรอกมาปรุงอาหาร และแจกจ่ายเนื้อกระรอกไปทั้งเมือง ในคืนนั้นเองเกิดพายุฝนแผ่นดินไหว น้ำท่วมพัดพาผู้คนลงสู่หนองหานและท้องบาดาล ท้าวนาคราชบิดาของภังคี โกรธที่โอรสถูกฆ่า จึงพานาคจากเมืองบาดาลมาอาละวาดถล่มเมืองขอมจนสิ้น ส่วนท้าวผาแดง เมื่อเห็นเมืองขอมถล่มได้พานางไอ่คำขึ้นม้าควบหนีไปทางทิศเหนือ หนีน้ำและบรรดาพญานาคที่ตามพ่นไฟไล่หลังมา วิญญาณแค้นของภังคีได้วนเวียนมาทวงความแค้นกับผาแดงนางไอ่ตลอดมาทุกชาติ ๆ 

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

น้ำตกเอราวัณ

เป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 7 ชั้นเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เดิม มีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกที่เกิดจากยอดเขา ตาม่องล่ายใน เทือกเขาสลอบ สายน้ำจะไหลมาตามชั้นหินเป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่า หลายชนิดบนคาคาคบไม้ สายธารน้ำที่ไหลตกลดหลั่นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสียงสาดซ่า คลอเคล้า ด้วยเสียงเพรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมี คุณค่าของป่าเขาลำเนา ไพรซึมซับเข้าสู่อารมณ์ของผู้ใฝ่ความสันโดษ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชั้นบนสุดของน้ำตกลักษณะของน้ำตกชั้นที่ 7 ลักษณะสายน้ำไหลบ่า มองดูคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อน้ำตก จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “น้ำตกเอราวัณ”




สิ่งที่รู้สึกได้เมื่อมาถึงยังบริเวณน้ำตก คือความเย็นสบายแต่เมื่อได้เห็นตัวน้ำตกก็ต้องตะลึงในความงามของตัว น้ำตกที่น้ำใสแจ๋ว มองเห็นตัวปลาแหวกว่ายไปมาใต้ผืนน้ำที่สะท้อนแสงเป็นสีฟ้าอมเขียวมรกตคล้ายน้ำใน สระว่ายน้ำ ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากลักษณะของภูเขาใน อุทยานฯเอราวัณ เป็นเป็นเทือกเขาหินปูนที่เกิดจาก การทับถมของ เปลือกหอย ปู หรือปะการังดังนั้นน้ำตกเอราวัณที่ไหลมาจากเทือกเขาหินปูนจึงมีสารละลายของ แคลเซียมคาร์บอเนต เจือปนอยู่ ซึ่งแคลเซียมคาร์บอเนตนี้จะตกตะกอนในบริเวณที่มีน้ำไหลช้าหรือเป็นแอ่งน้ำ ทำให้ชั้นน้ำตกมีคราบหินปูนก่อตัว และหินปูนนี้สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่ออยู่ในรูปของสารละลายก็สามารถ ตก ตะกอนได้ น้ำตกหินปูนจึงมีน้ำใสในตอนบน และมีการตกตะกอนขุ่นในช่วงล่างของธารน้ำ เมื่อแสงส่องลงมาจะ ทำให้สะท้อนเป็นสีฟ้าหรือสีเขียวมรกตสวยงามมาก

                                   น้ำตกเอราวัณ
                                   น้ำตกเอราวัณ
น้ำตกชั้นแรกมีชื่อว่า"ไหลคืนรัง"ชั้นต่อมาชื่อ"วังมัจฉา" ชั้นที่ 3 "ผาน้ำตก" ชั้นที่4"อกผีเสื้อ" ชั้นที่ 5 "เบื่อไม่ลง" ชั้นที่ 6"ดงพฤกษา" และชั้นสุดท้ายชื่อว่า "ภูผาเอราวัณ"โดยน้ำตกแต่ละชั้นไม่ใช่มีแค่ชื่อที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น แต่น้ำตกแต่ละชั้นก็มีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป สำหรับท่านที่ต้องการเยี่ยมชมน้ำตกทั้ง 7 ชั้นจาก การสอบถามจากเจ้าหน้าที่จะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการขึ้น - ลง
         น้ำตกเอราวัณ   น้ำตกเอราวัณ
ทางอุทยานฯตั้งชื่อเช่นนี้ คิดว่าอาจจะเป็นเพราะน้ำตกชั้นนี้มีปลาอาศัยอยู่เยอะก็เป็นได้ ซึ่งปลาเหล่านี้คือ "ปลาพลวง" เป็นปลาน้ำจืดในตระกูลปลาตะเพียน ลำตัวสีน้ำตาลเขียว เกล็ดโต มีหนวดยาว 2 คู่ ตรงจงอยปาก และ มุมปาก ชอบอาศัยบริเวณธารน้ำตก ลำห้วย หรือธารน้ำที่ใสสะอาด มีพื้นเป็นกรวดหรือทราย ที่วังมัจฉาสี ของน้ำมี 2 สีอย่างเห็นได้ชัด คือน้ำสีฟ้าเขียวและน้ำใสๆตามปกติ ซึ่งปลาพลวงชอบจะอาศัยอยู่ในน้ำใสมากกว่า นอกจากนี้ที่น้ำตกชั้น 2ยังมีความสวยงามของม่านน้ำตกที่เบื้องหลังสายน้ำตกที่ตกลงมากระเซ็นเป็นฝอยนั้นมี ผาลึกเข้าไปเล็กน้อย โดยนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปหลังม่านน้ำตกนี้ได้น้ำตกชั้นที่ 3 ที่มีน้ำตกที่ตกลงมาจากผาชันดังชื่อของน้ำตกชั้นนี้ว่า"ผาน้ำตก" จากนั้นก็เดินข้ามสะพานไม้ถัดขึ้น ไปเป็นน้ำตกชั้นที่ 4 "อกผีเสื้อ" ที่มีชื่อเช่นนี้ก็คงเพราะรูปร่างของหินที่อยู่ในน้ำตกชั้นนี้ "ผู้จัดการท่องเที่ยว" มองดูคล้ายอกของผู้หญิง หรือถ้าเป็นอกผีเสื้อก็คงเป็นอกผีเสื้อสมุทร ที่มีน้ำตกไหลครอบคลุมหินกลมมน ก้อนใหญ่ 2 ก้อนดูแล้วนิ่มนวลสวยงามมาก


          น้ำตกเอราวัณ  น้ำตกเอราวัณ
ถัดมาเป็นน้ำตกชั้นที่ 5 ชื่อว่า"เบื่อไม่ลง" ด้วยลักษณะของน้ำที่ไหลตกลงมาตามชั้นหินเตี้ยๆหลายๆชั้นบวกกับน้ำ ที่มีสีฟ้าเขียวทำให้เกิดความสวยงามน่าหลงใหลเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปเป็นชั้น "ดงพฤกษา" ซึ่งอุดมไปด้วยแมกไม้ นานา พันธุ์แต่ดูไม่รกทึบส่วนชั้นสุดท้าย "ภูผาเอราวัณ" ที่ได้ชื่อเช่นนี้คงเนื่องมาจากว่าเมื่อน้ำตกไหล บ่าผ่านผา และชั้นหินบน ภูเขามองดูจากระยะไกลคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตกชั้นที่ 7 และเป็นชื่อของอุทยาน แห่งชาตินี้ด้วย
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
นอกจากนี้ทางอุทยานฯได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ทางอุทยานฯ ได้จัดเส้นทางไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ที่ต้องการศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที คือ เส้นทางสายป่าดิบแล้งม่องไล่ - ระยะทาง 1,010 เมตร ลักษณะเป็นทางเดินเลียบลำห้วยม่องไล่ เริ่มจากสะพานค่ายพักไปบรรจบกับเส้นทาง ใน
น้ำตกเอราวัณชั้นที่ 3 เส้นทางเขาหินล้านปี - ระยะทาง 1,940 เมตร เริ่มจากลานจอดรถไปบรรจบกับเส้นทาง สู่น้ำตกบริเวณสะพานของ น้ำตกเอราวัณชั้นที่ 4
ค่าธรรมเนียมเข้าชม อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เปิดเวลา 7.30-16.00 น.
- ค่าธรรมเนียมผู้ใหญ่ 40 บาท/คน เด็ก 20 บาท/คน 
- รถกอล์ฟคิดค่าบริการเที่ยวละ 20 บาท/คน
สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติเอราวัณมีบ้านพัก เต็นท์และค่ายพักแรม มีร้านค้า ขายอาหารมากมายหลายร้านไว้บริการ นักท่องเที่ยว ติดต่อสอบ ถามรายละเอียดและสำรองที่พัก ได้ที่ฝ่ายบริการบ้านพัก ส่วนอำนวยการสำนักอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ิกรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5795734 หรือ 5614292 - 4 ต่อ 724,725 หรือติดต่ออุทยานแห่งชาติ โดยตรง อุทยานแห่งชาติเอราวัณต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี 71250 
โทรศัพท์ 0 3457 4222, 0 3457 4234   โทรสาร 0 3457 4288, 0 3457 4234  
หมายเหตุ: อุทยานฯไม่อนุญาตให้นำอาหารเข้าไปในบริเวณน้ำตกเกินชั้น 3 เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดและ ความเป็นธรรมชาติเอาไว้

แผนที่ไปน้ำตก
แผนที่ไปน้ำตกเอราวัณ    แผนที่ไปน้ำตกเอราวัณ




วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มอหินขาว จ.ชัยภูมิ




  ชื่อ        มอหินขาว
 ที่อยู่      เขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา
              บ้านวังคำแคน ม. 9   ต. ท่าหินโงม  อ. เมือง
 จุดเด่น   1. กลุ่มหินทรายสีขาวขนาดใหญ่  ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าบนเนินเขา
               2. ลักษณะคล้ายสโตนเฮนจ์ ( Stonehenge ) ของประเทศอังกฤษ
               3. อายุระหว่าง 197 - 175  ล้านปี


ความเป็นมา 


                 1. เกิดจากการสะสมของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวจากทางน้ำ
                 2. ต่อมามีการตกตะกอนเปลี่ยนเป็นทราย ในสภาวะอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งร้อนชื้นทับถม
                 3.  ตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวที่เกิดก่อนจึงเกิดการแข็งตัวกลายเป็นหิน
                 4. หลังจาก 65 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกจากแรงบีบด้านข้าง
                 5. จึงเกิดการคดโค้ง แตกหัก ผุพังและการกัดเซาะทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
                 6. ก่อให้เกิดลักษณะของเสาหินและแท่งหินที่มีลักษณะที่แตกต่างอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
  
ความสำคัญ  
                  1. สังคมของพันธุ์พืชต่าง ๆ สัตว์ป่าขนาดเล็ก แมลง
                  2. เป็นแหล่งป่าต้นน้ำลำธารภูแลนคาซึ่งชาวบ้านทำฝายกั้นน้ำกักเก็บไว้ใช้ 
                                                  
 การเดินทาง  

                  1. ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2051
                  2. ถ. สายชัยภูมิ  –  ตาดโตน  (  ทางลาดยางประมาณ 18  กม. )  
                  3. เลี้ยวซ้ายก่อนถึงด่านของอุทยานแห่งชาติตาดโตน
                  4. ตามถนนตาดโตน – ท่าหินโงม ( ทางลาดยางประมาณ 12 กม. ) 
                  5. แยกซ้ายตาม ถ. แจ้งเจริญ – โสกเชือก  (  ทางลูกรังประมาณ  6.5  กม. )  ถึงบ้านวังคำแคน  
                   6. จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบ้านวังคำแคน ( ทางลูกรังประมาณ  3.5  กิโลเมตร จะเดินทางถึงถึงกลุ่มหินชุดแรกของมอหินขาว  
                   7. จากตัวเมืองประมาณ 40 กม. 
                           
สิ่งน่าสนใจ     
                    1. จุดชมวิว  หินเจดีย์โขลงช้าง ระยะทางเดินเท้า   650   เมตร
                    2.  ลานหินต้นไทร   900    เมตร
                    3.  สวนหินล้านปี   1,250   เมตร
                    4. จุดชมวิว   ผาหัวนาค  2,500  เมตร 
                          
คำแนะนำ     
                    1. ในช่วงฤดูฝนควรใช้รถยนต์ประเภทรถกระบะหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ 
                    2. ห้องน้ำและลานกางเต๊นท์  ห่างจากถัดจากกลุ่มหินชุดแรกไปเล็กน้อย




วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย



อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย คือ อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยใช้ทางเข้าทางเดียวกับน้ำตกมวกเหล็ก เป็นทางลาดยางต่อไปอีก 9 กิโลเมตร

     อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จัดตั้งเป็น “วนอุทยานน้ำตกเจ็ดสาวน้อย” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 อยู่ในท้องที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนสลับกับที่ราบ ลักษณะพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งมีหน้าดินตื้น

     อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางอยู่ระหว่าง 180-402 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่บริเวณโชคชัยพัฒนา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 402 เมตร บริเวณเชิงเขาด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือของพื้นที่ติดคลองมวกเหล็กซึ่งมีน้ำไหลผ่านตลอดปี และไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักที่อำเภอวังม่วง ส่วนบริเวณตอนกลางของพื้นที่มีลำห้วยเล็กๆ ไหลผ่าน ได้แก่

     ห้วยแล้ง ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าปลูก เนื่องจากแต่เดิมเป็นพื้นที่ที่ถูกบุกรุกทำลายมาก่อนและได้รับการปลูกป่าฟื้นฟู พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตสวนป่าหลังเขา-ท่าระหัด จังหวัดสระบุรีและพื้นที่แปลงปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 บางพื้นที่เป็นป่าที่ฟื้นตัวตามธรรมชาติ

     โดยพื้นที่โดยรอบทั้งหมดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย มีถนนล้อมรอบ บริเวณที่เป็นป่าดงดิบธรรมชาติจะพบเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดกับลำห้วยเหล็กและกระจายเป็นหย่อมๆตามแนวลำน้ำ ส่วนป่าเบญจพรรณพบอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าที่ฟื้นตัวเองตามธรรมชาติ

     น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ มี 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงประมาณ 2-5 เมตร ไหลลดหลั่นกันมาตามแนวลำธารเป็นแอ่งน้ำกว้าง บรรยากาศร่มรื่น มีบริเวณสำหรับเล่นน้ำลำน้ำมวกเหล็ก เป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลตลอดปี ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร มีเกาะแก่งที่ไม่สูงมากนัก ลดหลั่นกันไป

     น้ำตกซับเหว ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2273 ตรงสู่แยกไปโป่งเก้งเขต อำเภอมวกเหล็ก แล้วเลี้ยวขวาไปประมาณ 5 กิโลเมตร จะพบที่ทำการหมู่บ้านซับเหว ม.5 ก่อนที่จะผ่านทุ่งทางตะวันกว่า 1,800 ไร่ น้ำตกซับเหวมีความสูงกว่า 30 เมตร จากจุดเริ่มต้นเข้าไปสู่น้ำตกด้วยระยะทางประมาณ 800 เมตร เป็นลักษณะผาดินสูงประมาณ 30 เมตร ล้อมรอบด้วยหุบเขา มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ให้ลงเล่นน้ำได้ ด้านขวาของน้ำตกมีทางเดินขึ้นไปชมโพลงถ้ำขนาดเล็กซึ่งมีหินงอก หินย้อยภายในถ้ำ การเดินทางเข้าไปที่น้ำตกค่อนข้างลำบาก

     ถ้ำดาวเขาแก้ว ตั้งอยู่ที่ตำบลพญากลาง ห่างจากอำเภอมวกเหล็กประมาณ 38 กิโลเมตร หรือจากตัวอำเภอเมืองไปประมาณ 75 กิโลเมตร ไปทางเดียวกับน้ำตกเจ็ดสาวน้อยอยู่เลยไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางตลอด จากทางหลวงหมายเลข 2224 มีทางแยกซ้ายเข้าไปเป็นลูกรังประมาณ 5 กิโลเมตร ผู้ที่จะชมถ้ำต้องปีนบันไดจากเชิงเขาไปถึงปากถ้ำประมาณ 100 เมตร ลักษณะแปลกของถ้ำนี้ คือ มีจุดสีแดง สีดำ และสีน้ำตาลอยู่ที่เพดานถ้ำ มีหินงอก หินย้อย และมีฝูงค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก 

                      

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

   Map
   Image6 Image7   Image9  Image4


มรกตแห่งอันดามัน อัศจรรย์ใต้ทะเล

หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะกลางทะเลอันดามันที่เป็นเลิศในความงามของปะการังแห่งหนึ่งของโลก “สิมิลัน” เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า “เก้า” ชาวประมงบางคนจึงเรียกว่า หมู่เกาะเก้า ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อย 9 เกาะด้วยกัน เรียงตัวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันประกอบด้วย เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมียง เกาะปาหยัน เกาะปายัง และเกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และในปี 2541 ได้ผนวกรวมเกาะตาชัย ทำให้มีพื้นที่ทั้งหมด 140 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2524 คณะสำรวจหมู่เกาะสิมิลันซึ่งประกอบด้วย Mr. Jeferey A. Sayer ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าของ FAO (ขณะนั้นช่วยงานด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า กรมป่าไม้) ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้ นายสุวัช สิงหพันธุ์ เจ้าหน้าที่กองอุทยานแห่งชาติ และคณะสำรวจของนายประพันธ์ ผลเสวก แห่งนิตยสารเพื่อนเดินทาง ได้เสนอความคิดเห็นต่อกองอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2524 ว่า บริเวณหมู่เกาะสิมิลันมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ทางทะเลสวยงามยิ่ง สภาพแวดล้อมบนเกาะต่างๆ สมบูรณ์ มีพรรณพืชและสัตว์ที่น่าสนใจหลายชนิด สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยหน้าผา โขดหินรูปร่างแปลกตา มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์ และใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยปะการังหลากสีหลายชนิดและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด เหมาะสมที่จะสงวนรักษาไว้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2524 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2524 เห็นสมควรให้จัดบริเวณหมู่เกาะเก้าหรือหมู่เกาะสิมิลันเป็นอุทยานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ชื่อว่า “หมู่เกาะสิมิลัน” ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ 80,000 หรือ 128 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติภายใต้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 123 ลงวันที่ 1 กันยายน 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 ของประเทศไทย

ต่อมาได้ผนวกพื้นที่เกาะตาชัย เนื้อที่ 12 ตารางกิโลเมตรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 65ก ลงวันที่ 25 กันยายน 2541 รวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้งสิ้น 87,500 ไร่ หรือ 140 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วยพื้นดินที่เป็นเกาะต่างๆ เขาหินแกรนิตสูงชัน หาดทราย โขดหิน ลักษณะรูปร่างต่างๆ ชายฝั่งของเกาะต่างๆ มีลักษณะเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากตั้งอยู่ในส่วนทะเลนอก ได้รับอิทธิพลจากการกัดเซาะของคลื่นทะเลโดยตรง เรียงตัวตามแนวทิศเหนือใต้ พื้นน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียตะวันออก บริเวณไหล่ทวีปติดชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและประเทศพม่า คู่ขนานกับแนวเกาะนิโคบาร์ ที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศอินเดีย ตามชายหาดหรือสันทรายจะไม่มีดินเลนให้เห็นจึงเป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สวยงาม อนุภาค ทรายมีขนาดเล็กละเอียด ส่วนที่เป็นยอดเขาจะเป็นเขาโดดสูงชัน ยอดเขาสูงสุดมีความสูง 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางเกาะมีลักษณะแบนราบล้อมรอบด้วยเนินทรายและแนวปะการัง
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีเฉลี่ย 3,560 มิลลิเมตร ปริมาณการระเหยของน้ำแต่ละปีเฉลี่ย 1,708 มิลลิเมตร ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี


พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พืชพรรณ
สามารถจำแนกออกได้ เป็น 3 ประเภท ได้แก่
  1. ป่าชายหาด มีลักษณะโปร่งพบพันธุ์ไม้กระจัดกระจายมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ได้แก่ หูกวาง จิกเล สารภีทะเล ไม้ยืนต้นขนาดเล็กและไม้พุ่มขนาดใหญ่ ความสูงไม่เกิน 10 เมตร เช่น ตะบัน หงอนไก่ทะเล ปอทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มขนาดเล็ก เช่น ชิงชี่ ก้างปลาทะเล เตยทะเล เป็นต้น พืชคลุมดินที่พบ เช่น พืชตระกูลถั่ว พวกถั่วผี ผักราด หญ้าที่พบตามชายหาด เช่น หญ้าหวาย หญ้าขุย ไม้ไผ่ พืชอาศัย ได้แก่ นมพิจิตร ข้าหลวงหลังลาย เป็นต้น
  2. ป่าละเมาะ เป็นสังคมของไม้พุ่มที่เจริญเติบโตได้บนดินที่มีความลึกของชั้นดินไม่เกิน 30 เซนติเมตร พรรณไม้ที่พบไม่หนาแน่นนัก เช่น กระบองเพชร จันทน์ผา ไม้พุ่มขนาดเล็กที่พบทั่วไป ได้แก่ พลอง นกนอน เป็นต้น
  3. ป่าดงดิบ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ความสูง 20 เมตรขึ้นไป ได้แก่ ยางปาย ยูง สะยา ไม้ยืนต้นขนาดรองลงมา ความสูง 15-20 เมตร ได้แก่ ขนุนนก เม่า โมกป่า ไม้ยืนต้นขนาดกลางความสูง 10-15 เมตร ที่พบ เช่น กระเบา รักป่า เนียน เป็นต้น มักพบ ไผ่ป่า หวาย ปาล์ม ขึ้นปะปน ไม้เลื้อย ไม้เถาว์ที่พบ เช่น พลูฉีก เสี้ยวเครือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้และกาฝากเกาะตามกิ่งก้านไม้ขนาดใหญ่
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหาพบได้ยาก ได้แก่ ละมุดป่า และงวงช้างทะเล พบเฉพาะเกาะใหญ่ในทะเลอันดามัน พืชที่กินผลหรือใบอ่อนได้ เช่น ละมุดป่า มะปริง มะหวด เนียง ผักหวาน และชิงชี่ เป็นต้น

สัตว์ป่า
จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น ค้างคาวแม่ไก่เกาะ ค้างคาวปีกถุงเคราดำ พญากระรอกดำ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น โลมาหัวขวด เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย เต่าทะเลที่สำคัญได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่ากระ นอกจากนี้ยังพบพวกเหี้ย แลน กระรอก เป็นจำนวนมาก ส่วนจำพวกงู ไม่เคยพบงูที่มีพิษ งูที่พบมากได้แก่ งูเหลือม

นกที่พบได้บ่อยในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีดังนี้
  1. นกที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย และไม่อพยพย้ายถิ่น เช่น เหยี่ยวแดง นกกวัก เป็นต้น
  2. นกที่จัดเป็นนกอพยพ เข้ามาในประเทศไทยบางฤดูกาล เช่น นกปากซ่อมหางเข็ม นกเด้าลมหลังเทา
  3. นกประจำถิ่นและบางครั้งมีการอพยพย้ายถิ่น ได้แก่ นกนางแอ่นบ้าน นกยางควาย นกอีลุ้ม และนกนางนวลแกลบสีกุหลาบ เป็นต้น
  4. ปลา ที่สำคัญที่พบเป็นพวกปลาทะเล ได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระโทงเทง ปลากระเบน ปลาบิน ปักเป้าทะเล รวมตลอดถึงปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งปะการังอีกหลายชนิด เช่น ปลาผีเสื้อ ปลานางฟ้า และปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายชนิด
  5. สัตว์ประเภทอื่นที่สำคัญ สำหรับพันธุ์สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ปะการัง และแมงกระพรุน ซึ่งปะการังโดยรอบหมู่เกาะสิมิลัน ส่วนใหญ่เป็นปะการังน้ำลึก เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ ปะการังใบไม้ ปะการังแปรงล้างขวด ปะการังรูพรุน นอกจากนี้ยังมีปะการังที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และปะการังพรุนแบบฟองน้ำอีกหลายชนิด ทั้งยังพบพวกกัลปังหาอีกเป็นจำนวนมากด้วย

                  

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ

                                  Image


ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลา และวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่ปายฝั่งขวา ท้องที่อำเภอเมืองและกิ่งอำเภอปางมะผ้า และด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน แนวเทือกเขาจะทอดยาวตามแนวเหนือใต้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ที่สวยงามเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป เหมาะสำหรับการไปพักผ่อนหย่อนใจอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีเนื้อที่ประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 305,000 ไร่

ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2540 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2540 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ โดยเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 652/2528 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ลงวันที่ 10 เมษายน 2538 และคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 240/2539 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ให้นายพินิต สุวรรณรัตน์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลาและวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

ผลการสำรวจได้รวบรวมพื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติจำนวน 305,000 ไร่ หรือประมาณ 488 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาตินี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างแท้จริง และได้กันพื้นที่หมู่บ้านหรือชุมชน ออกจากที่จะประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว ประกอบกับทางอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการประสานงานกับ หน่วยงานอื่น อาทิเช่น ฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด จึงไม่มีปัญหามวลชนแต่อย่างใดและต่อมา คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 ซึ่งมีนายสมเจตน์ วิริยะดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2552 อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 116 ของประเทศไทย โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 96 ก ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2552 มีเนื้อที่ประมาณ 394,120 ไร่ หรือ 630.59 ตารางกิโลเมตร

      


ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นแนวเทือกเขาหลายเทือกสลับเป็นลูกคลื่นต่อเนื่องไปจนจดชายแดนพม่าทางด้านทิศเหนือ มีความลาดชันมาก จุดสูงสุดเป็นยอดเขาดอยลาน สูงประมาณ 1,918 เมตรจากระดับน้ำทะเล อาณาเขตทิศเหนือจดรัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ทิศใต้จดห้วยหมากอื้นและห้วยผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทิศตะวันออกจดลำน้ำของ กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทิศตะวันตกจดรัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
 ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาล

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านทะเล และมหาสมุทร ทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม เป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในรอบปี

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคมเป็นช่วงที่เกิดหมอกมากที่สุดประมาณ 21 - 26 วัน ส่วนมากเกิดตอนรุ่งเช้า โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยได้ 9.80 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วโดยเฉพาะเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดในรอบปี โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 34.09 องศาเซลเซียส
 พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อสามารถจำแนกออกได้เป็น

ป่าดงดิบ ส่วนใหญ่จะเป็นผืนป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ สภาพดินค่อนข้างลึก มีความชุ่มชื้นสูง ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง ประดู่ ตีนเป็ด ก่อ ฯลฯ พืชพื้นล่างจะพบหวาย ขิง ข่าป่า และเฟิน มากมาย

ป่าสนเขา เป็นป่าที่พบในพื้นที่สูงประมาณ 300-1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีทั้งสนสองใบและสนสามใบ ส่วนใหญ่จะขึ้นปะปนอยู่กับป่าเต็งรัง พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา

ป่าเบญจพรรณ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ พบตามที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขา ตลอดจนริมห้วยทางตอนเหนือและตอนกลางของพื้นที่ จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะแบก มะค่าโมง ประดู่ แดง ไทร และงิ้วป่า

ป่าเต็งรัง พบตามสันเขาและตามที่ลาดชันที่ระดับความสูงประมาณ 300-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ สภาพดินตื้น มีก้อนหินโผล่ กรวด และลูกรังปะปน ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าแต้ เต็ง รัง ตะแบกนา เป็นต้น

จากการสำรวจสัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติพบไม่น้อยกว่า 408 ชนิด เช่น เลียงผา กระทิง ควายป่า หมี เก้ง กวางป่า หมูป่า กระต่ายป่า และนกนานาชนิด ฯลฯ นก 123 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 30 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 5 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 30 ชนิด ปลาน้ำจืด 20 ชนิด แมลง 200 ชนิด 


      



ภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว


ภูสอยดาว
  ทุ่งดอกไม้แสนสวยยามฤดูฝน ภูสอยดาวเป็นอุทยานแห่งชาติ แต่เดิมเป็นวนอุทยานภูสอยดาว จัดตั้งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 โดยครอบคลุมพื้นที่ 48,962 ไร่ ในท้องที่อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้สำรวจพื้นที่ป่าเพิ่มเติมท้องที่อำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี 2537 โดยครอบคลุมพื้นที่ 125,110 ไร่ หรือ 199 ตารางกิโลเมตร เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว



                                          


สภาพทั่วไป   

ภูสอยดาวมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำปาด มีเทือกเขาภูสอยดาวทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้กั้นพรมแดนระหว่างไทย-ลาว ยอดภูสอยดาวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร ( อยู่ในเขตประเทศลาว )  สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยชนิดของป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง จึงทำให้มีลักษณะภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี ( ภูสอยดาวในเขตไทย หมายถึงลานสนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูสอยดาว อยู่ที่ระดับความสูง 1,633 เมตร )
แต่ก่อนนั้นเคยมีคนเปรียบเทียบภูสอยดาวเป็นภูกระดึง2   ทั้งนี้เพราะว่าสภาพพื้นที่และป่าสนที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่สิ่งที่ภูสอยดาวต่างกับภูกระดึงและเด่นกว่าคือสภาพป่าสนที่เป็นเนินสลับซับซ้อนให้บรรยากาศของการเดินเที่ยวบนภูได้มากกว่า อีกทั้งระยะทางการเดินเที่ยวบนภูยังไม่ไกล สามารถเดินชมโดยรอบเพียงวันเดียว แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ บนภูอยู่ไม่ไกลกันไม่ว่าจะเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกซึ่งอยู่ห่างจุดตั้งแคมป์เพียง 10 นาที จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นอยู่ห่างเพียง 30 นาทีโดยประมาณ ทุ่งดอกไม้มีอยู่ทั่วไปบนภูและมีมากที่สุดบริเวณจุดกางเต็นท์ ทุ่งดอกไม้บนภูมีหลายชนิดผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกดอกให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปชื่นชมตลอดฤดูฝนจนถึงช่วงต่อฤดูหนาว


ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุด 35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ
เฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส





สถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
1. น้ำตกภูสอยดาว
มีความสูง 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี น้ำตกอยู่ริมถนนลาดยางหมายเลข 1268 ข้างๆ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นจุดรวมพลก่อนเดินขึ้นสู่ภูสอยดาว เป็นทางผ่านของเส้นทางเดินขึ้นภูสอยดาว  หากท่านใดไม่สะดวกขึ้นไปชมความงามบนภูก็สามารถแวะชมน้ำตก ลงเล่นน้ำได้ตามสะดวกสบาย
2. ลานสนภูสอยดาว  จากภาพด้านล่างนี้คือ ภูสอยดาว เทือกเขาสูงนั่นคือ ภูสอยดาว จุดสูงสุดคือ 2,035 เมตร ณ ที่จุดสูงสุดคือ เสาหลักเขตประเทศไทย-ลาว เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวไม่ได้ขึ้นไปเที่ยวกัน  ภูสอยดาวที่คนเขาพูดกันว่ามีทุ่งดอกไม้สวยคือ ลานสนภูสอยดาว นั่นก็คือที่ราบบนภูที่เป็นทุ่งกว้างมีต้นสนสามใบขึ้นอยู่จำนวนมาก ที่พื้นเป็นทุ่งหญ้าที่จะออกดอกสวยงามในช่วงฤดูฝนจนถึงปลายฤดูฝน หากดูในภาพแล้วก็คือพื้นที่ราบที่เห็นอยู่นี่แหล่ะ ที่ราบ หรือ ลานสนภูสอยดาวนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,600 เมตร และมีจุดสูงสุดอยู่บริเวณจุดชมวิวด้านทิศเหนือด้วยระดับความสูง 1,633 เมตร ถึงแม้จะดูไม่สูงมากแต่ก็สูงกว่าภูกระดึงที่สูงเพียง 1,280 เมตร  บริเวณลานสนมีที่ราบที่กว้างเต็มไปด้วยทุ่งดอกไม้ บริเวณกลางพื้นที่มีลำธารไหลผ่านเหมาะสำหรับตั้งแค้มป์พักแรมเป็นอย่างยิ่ง  ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและลานกางเต็นท์ก็อยู่ที่ลานสนนี้ ลักษณะโดยทั่วไปของลานสนเป็นพื้นที่ราบสลับเนินเตี้ย ทั่วทั้งพื้นที่ปกคลุมไปด้วยทุ่งหญ้าและป่าสนที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่งเหมาะสำหรับเดินเที่ยว พื้นที่บนยอดภูไม่กว้างใหญ่เหมือนกับภูกระดึงจึงทำให้เดินชมบรรยากาศบนยอดภูได้อย่างสบายๆ ไม่เหนื่อยมาก ตลอดเส้นทางมีดอกไม้ในทุ่งหญ้าออกดอกให้ชมอย่างสวยงาม
การเดินทางขึ้นไปชมลานสนภูสอยดาวต้องเดินขึ้นไป ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
 
3. พิชิตยอดภูสอยดาว  ยอดแหลมๆ ด้านซ้ายจากภาพข้างบน นั่นคือจุดสูงสุดภูสอยดาว ความสูง 2,035 เมตร  เป็นที่ตั้งหลักเขตไทย-ลาว เส้นทางขึ้นยอดภูสอยดาวเป็นเส้นทางที่ชันมาก ช่วงแรกไต่ระดับขึ้นเนินแรก ช่วงกลางเป็นทางราบขึ้นเนินลงเนิน ช่วงสุดท้ายชันแบบตะกายฟ้า จากจุดกางเต็นท์ที่ลานสนขึ้นยอดภูสอยดาวใช้เวลาเดินทางไป-กลับ 1 วันเต็ม เมื่อขึ้นไปถึงยอดดอยจะมีหน้าผาชันชื่อผาอินทรีย์ เป็นจุดชมวิวเมื่อมองลงมาจะเห็นพื้นที่ราบลานสนได้ชัดเจน  ทัวร์ดอยได้พานักท่องเที่ยวขึ้นไปเป็นคณะแรกเมื่อปี 2546 นักท่องเที่ยวที่ขึ้นสู่ยอดภูสอยดาวได้คนแรกคือ น้องไบท์ อายุ 13 ปี รูปน้องไบท์บนยอดภูสอยดาว  หลักเขตไทย-ลาว บนยอดภูสอยดาว  เส้นทางขึ้นภูสอยดาวสุดชัน ภาพคุณนักท่องเที่ยวทัวร์ดอยบนยอดภูสอยดาว วิวลานสนมองจากผาอินทรีย์บนยอดภูสอยดาว
4. ทุ่งดอกไม้  บนลานสนบนภูสอยดาวอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทุ่งดอกไม้ป่ามากมายหลายชนิดผลัดกันออกดอกหมุนเวียนไปตามช่วงฤดูกาล ที่ขึ้นชื่อมากของที่นี่คือดอกหงอนนาค ดอกมีสีม่วงอ่อน ที่นี่เป็นทุ่งดอกหงอนนาคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ถึง 4,000 ไร่  ดอกหงอนนาคจะทยอยออกดอกประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน  เมื่อดอกหงอนนาคโรยไปก็จะมีดอกกุงผลิบานขึ้นมาทดแทน ดอกกุงเป็นดอกสีเหลืองเต็มทุ่งหญ้า จะออกดอกในช่วงปลายเดือนกันยายน-ตุลาคม  นอกจากนี้ยังมีดอกไม้อื่นๆ มีมากมายหลายชนิด พันธ์ไม้ที่มีคุณค่าและหายากในแหล่งอื่นแต่หาชมได้ที่นี่คือ รองเท้านารีอินทนนท์ จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
       
              
5. น้ำตกบนภู
พื้นที่ทุ่งดอกไม้บนภูสอยดาวเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝนที่มีพื้นที่กว้างกว่า 4,000 ไร่ เมื่อฝนตกลงมาก็จะขังอยู่ตามทุ่งหญ้าแล้วไหลลงสู่ลำธารเล็กๆ บนภูซึ่งมีอยู่หลายสายจากนั้นก็ไหลลงสู่พื้นที่ต่ำทำให้เกิดน้ำตกหลายสาย ได้แก่ น้ำตกสายทิพย์  น้ำตกผาชัน น้ำตกมอส อยู่ละจุดอยู่คนละมุมของภูสอยดาว สามารถเข้าไปเที่ยวชมได้ไม่ยาก จุดเด่นของน้ำตกบนภูสอยดาวคือความเขียวสดของมอสที่เกาะอยู่ตามหินบริเวณน้ำตกดูเป็นธรรมชาติและสดชื่นมาก
  
6. วิวส์สวย
ภูสอยดาวเป็นภูเขายอดตัดคล้ายกับภูกระดึง บริเวณขอบของภูเป็นเส้นทางเดินชมวิวส์ทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถมองวิวส์ไกลๆ โดยไม่มีอะไรมาบดบังสายตา เส้นทางเดินบนภูเป็นเส้นทางเดินเป็นวงรอบ ระหว่างเส้นทางเป็นป่าสนและทุ่งดอกไม้ให้ได้ชมอย่างเพลิดเพลินโดยไม่เหนื่อยจนเกินไปเพราะมีระยะทางสั้นๆ  ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีแผนที่แสดงเส้นทางเดินเที่ยวบนภู นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวชมได้อย่างอิสระไปตามเส้นทางรอบภู ชอบมุมไหนก็นั่งเล่นนั่งพักชมวิวกันได้ตามอารมณ์
วิวส์บนจุดสูงสุดของลานสนภูสอยดาว ภาพซ้ายคือภูเขาฝั่งลาว
7. ทะเลหมอก- พระอาทิตย์ตก
จุดชมวิวส์พระอาทิตย์ตก และ ทะเลหมอก อยู่ใกล้ๆ กับจุดกางเต็นท์ 
  
8. บรรยากาศการแคมปิ้งที่สุดยอด
เป็นความประทับใจที่ไม่อาจจะบรรยาออกมาเป็นภาพได้กับการที่ได้ตั้งแคมป์พักแรมกลางลานสนที่เต็มไปด้วยดอกไม้ที่สวยงาม กับบรรยากาศของความหนาวเย็น มีลำธารสายเล็กๆ ข้างบริเวณจุดกางเต็นท์เป็นทั้งแหล่งน้ำดื่มและน้ำใช้สำหรับนักท่องเที่ยว ในยามเย็นจะมีนักท่องเที่ยวลงไปอาบน้ำยังท้ายๆ ของลำธาร ชายลงอาบด้านเหนือสายน้ำ หญิงอาบทางด้านท้ายสายน้ำ เป็นบรรยากาศที่โรแมนติกท่ามกลางธรรมชาติ ข้อดีของที่นี่อีกอย่างคือ ไม่มีทาก ทำให้เที่ยวได้อย่างสบายใจไร้กังวล
     
การเดินทางไปภูสอยดาว
ภูสอยดาว อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ( สนง. ทัวร์ดอย กม.0 ) ประมาณ 550 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ เส้นทางที่สะดวกมี 2 เส้นทางคือ เส้นทางสายชาติตระการ เป็นเส้นทางที่ต้องขึ้นเขา อีกเส้นทางคือเส้นทางสายน้ำปาด ดังรายละเอียด
1. จากจังหวัดพิษณุโลก ใช้ทางหลวงเลข 11 ที่มุ่งตรงไปยังจังหวัดอุตรดิตร์ เมื่อถึงอำเภอวัดโบสถ์ ( 28 กม. จากพิษณุโลก )  ให้แยกขวาไปบ้านโป่งแคตามทางหลวงหมายเลข 1206  เมื่อถึงสามแยกบ้านโป่งแค ( 46 กม ) ให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 1143 มุ่งตรงไปจนถึงอำเภอชาติตระการ ( 32 กม.) ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1237 วิ่งตรงไปอีก 71 กม เป็นทางลาดยางช่วงแรกเป็นทางผ่านทุ่งนา ช่วงท้ายเป็นทางลัดเลาะตามไหล่เขาทางแคบชำรุดเป็นบางช่วง แต่ทางไม่ชัน มีรถยนต์น้อย ไปตอนกลางคืนน่ากลัว แต่ถ้าผ่านเส้นทางนี้ช่วงเช้ามืดจะเห็นวิวที่สวยงามมาก  ถึงแยกทางหลวงสาย 1268 เลี้ยวซ้ายไปภูสอยดาว ระยะทาง 58 กม. 
2. จากพิษณุโลก มุ่งตรงไปยังจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณ กม 70 กว่าๆ ให้แยกขวาไปยังบ้านน้ำพี้ เมื่อถึงสามแยกตัดกับถนนสาย 1047 ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง 1047 ตรงไปไกลมากจนเลยอำเภอน้ำปาด จนถึงโรงพยาบาลน้ำปาดให้แยกขวาไปตามถนนสาย 1239 มุ่งตรงไปบ้านห้วยมุ่น (แต่ไม่ได้ผ่านหมู่บ้านห้วยมุ่น) ตรงไป 47 กม มีโค้งหลายร้อยโค้งขึ้นๆ ลงๆ เนิน ถนนสภาพดี เส้นทางปลอดภัย ขับไปจนครบ 47 กม จะพบกับทางสามแยกให้แยกขวาไปอีก 18 กม ก็ถึงสะพานข้ามลำห้วย นั่นล่ะคือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เริ่มเดินขึ้นกันจากจุดนี้
เส้นทางเดินขึ้นภูสอยดาว
แผนที่ภูสอยดาว
เริ่มเดินขึ้นสู่ภูสอยดาว  ช่วงแรกเดินเลาะไปตามลำธาร ผ่านน้ำตกหลายชั้น เส้นทางร่มเดินสบาย ( เส้นสีเหลือที่คู่ไปกับสีน้ำเงิน )  เมื่อสุดเส้นทางเลาะลำธารก็ตัดขึ้นสันเขา ( ช่วงที่สีเหลืองแยกจากเส้นสีน้ำเงิน ) ช่วงนี้ชันหน่อยพอขึ้นถึงสันเขาก็จะเป็นทางลาดขึ้นทีละน้อย ตามในภาพ เมื่อเส้นสีเหลืองยกระดับขึ้นยอดเขาก็ชันหน่อย ช่วงสุดท้ายชันไม่หน่อยแล้ว ชันมากเลย แต่เมื่อเดินพ้นขึ้นไปถึงที่ราบโล่งบนลานสนก็จะประทับใจหายเหนื่อย
สิ่งอำนวยความสะดวก
บนภูไม่มีร้านค้า ไม่มีบ้านพัก มีห้องสุขา ห้องอาบน้ำไว้บริการ ไม่มีร้านอาหาร  นักท่องเที่ยวจะต้องไปตั้งแค้มป์ ทำอาหารทานกัน สนุกดี  มีลูกหาบไว้บริการโดยคิดน้ำหนัก 15 บาทต่อ กก
ห้องสุขาบนภูสอยดาว
ณ.ปัจจุบันนี้บนภูสอยดาว มีห้องสุขา และห้องอาบน้ำไว้บริการแล้ว เป็นห้องน้ำที่ทำง่ายๆ ด้วยกระดานสนที่ได้จากต้นสนที่หักโค่น  ห้องสุขา  และ ห้องอาบน้ำ ตั้งแยกกัน ห้องสุขาเป็นห้องแถวมีหลายห้อง น้ำที่ใช้จะต้องตักเองจากลำธาร ห้องอาบน้ำเป็นแบบ open air มีผนังมิดชิด น้ำใช้ก็ต้องตักเองจากลำธาร
น้ำดื่มน้ำใช้
บนภูสอยดาว มีลำธารไหลผ่านกลางภู น้ำในลำธารใสเพราะผ่านการกรองมาจากทุ่งหญ้า ใช้เป็นแหล่งน้ำใช้สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไปตั้งแค้มป์พักแรม น้ำในลำธารมีมากในช่วงฤดูฝนจนถึงปลายฝน ฤดูหนาวน้ำจะมีน้อยและแห้งไปในช่วงกลางฤดูหนาว





เกาะสมุย

   
                      




 เป็นเกาะที่อยู่กลางอ่าวไทยโดยเป็นอำเภอๆ หนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นสถานที่ตากอากาศที่มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงมากมาย โดยเกาะสมุยนั้นมีเนื้อที่ทั้งหมด 247 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะเป็นที่ราบแล้วล้อมรอบด้วยภูเขา ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เป็นช่วงที่มีลมมรสุม และฤดูร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ซึ่งคลื่นลมสงบ




สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจบนเกาะสมุย


หาดเฉวง เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาะสมุย มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร หาดทรายมีลักษณะขาวสะอาดและมีห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยวมากมาย อีกหาดที่น่าสนใจก็คือ หาดละไม เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงรองลงมาจากหาดเฉวงโดยจะมีระยะทางสั้นกว่า แต่น้ำทะเลจะใสมากจนมองเห็นปลาว่ายอยู่ในน้ำจึงเหมาะสำหรับการว่ายน้ำ 


หาดตลิ่งงาม เป็นหาดที่อยู่ถัดไปในทางทิศใต้ของท่าเรือเฟอร์รี่ เป็นหาดขึ้นชื่อในการชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดบนเกาะ เนื่องจากด้านหน้าของหาดเป็นที่ตั้งของเกาะสี่เกาะห้า ในเวลาที่ดวงอาทิตย์ตก จะสามารถมองเห็นภาพของดวงอาทิตย์ตกลงระหว่างกลางเกาะทั้งสอง และจมหายไปในทะเลเป็นภาพที่สวยงามมาก ในช่วงเย็นหาดแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในช่วงกลางวันยังสามารถเช่าเหมาเรือเพื่อเดินทางไปยังเกาะสี่-เกาะห้า ดำน้ำชมปะการัง หรือจะเลือกพักผ่อนด้วยการตกปลาก็ยังได้


หาดละไม หาดแห่งนี้เป็นหาดขึ้นชื่อ ด้วยความสวยของโค้งอ่าว ที่มีทิวมะพร้าวปลูกอยู่เป็นแนว ในบางช่วงของหาดระดับน้ำลึก คลื่นแรง แหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อบนหาดแห่งนี้ ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมวัดละไมและหินตา หินยาย โขดหินรูปร่างประหลาดบริเวณอ่าวละไม ซึ่งเล่ากันว่ามีตา-ยายชาวปากพนังคู่หนึ่งเดินทางด้วยเรือใบไปจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อจะไปสู่ขอผู้หญิงให้กับลูกชาย แต่เมื่อเรือแล่นมาถึงแหลมละไมเกิดพายุใหญ่จนเรือล่มทำให้ตาและยายเสียชีวิต แล้วคลื่นก็ซัดขึ้นมาเกยที่หาดจนกลายเป็นหินอย่างในปัจจุบันนี้ 


สวนผีเสื้อสมุย ที่มีลักษณะเป็นสวนหินที่เต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณ และเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่รวบรวมไว้ซึ่งพันธุ์ไม้ไทย พืชสมุนไพร และไม้ป่านานาชนิดจากทุกภาคของประเทศ โดยจะมีผีเสื้อบินในแต่ละวันนับหมื่นๆ ตัว ส่วนแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำตกหินลาดและน้ำตกหน้าเหมือง, ศูนย์ลิงสมุย, เกาะแตน, ฟาร์มงูพังกา รวมถึงแหล่งดูปะการังต่างๆ เป็นต้น


น้ำตกหน้าเมือง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ที่ต้องการพักผ่อนและต้องการเปลี่ยน บรรยากาศมาเล่นน้ำจืดบนเกาะ การเดินทางมาเที่ยวชมน้ำตกแห่งนี้นับว่ามีความสะดวก มีถนนเข้าถึงน้ำตก และอยู่ห่างจากท่าเรือหน้าทอนเพียงแค่ 14 กิโลเมตร และเมื่อเดินทางมาถึงน้ำตกก็จะได้พบกับลานกว้าง มีที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนร้านอาหารและร้านจำหน่ายของที่ระลึกให้บริการ หลังจากนั้นก็จะได้พบกับน้ำตกหน้าเมือง 1 ซึ่งจัดว่าเป็นน้ำตกขนาดไม่ใหญ่นัก มีความสูงประมาณ 15 เมตร สายน้ำจะไหลลงมารวมกันเป็นแอ่งขนาดใหญ่ เหมาะแก่การเล่นน้ำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ชอบความสมบุกสมบันในการเดินทาง ก็สามารถเดินเท้าเข้าไปชมน้ำตกหน้าเมือง 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่ สวยงาม แต่กระแสน้ำจะค่อนข้างไหลแรง




                                  






การเดินทาง

          ทางรถไฟ จะมีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงทุกวัน

          รถโดยสารประจำทาง จะมีบริการรถโดยสารปรับอากาศและรถโดยสารธรรมดาจากกรุงเทพฯ เดินทางตรงสู่เกาะสมุยโดยไม่รวมค่าโดยสารเรือเฟอร์รี่ ใช้เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง แต่ถ้าใครต้องการความรวดเร็วก็จะมีสายการบินที่เปิดบริการเที่ยวบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-สมุย ทุกวัน จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที

          การเดินทางเข้าสู่เกาะสมุย มี 3 เส้นทาง ได้แก่
          1.การเดินทางโดยเรือเฟอร์รี่ จากท่าเรือดอนสัก มีวันละ 7 เที่ยว จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที, เรือด่วนออกจากสุราษฎร์ธานีไปยังท่าเรือหน้าทอนบนเกาะสมุย จะมีวันละ 1 เที่ยว ตอนเวลา 8.00 น. ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที 
          2.เรือนอน (เรือธรรมดา) จากท่าเรือบ้านดอน จะออกเวลา 23.00 น. ถึงเกาะสมุยเวลา 05.00 น. โดยจะมีเรือออกจากเกาะสมุยเวลา 21.00 น. ถึงสุราษฎร์ธานีเวลา 04.00 น.