เที่ยวภูกระดึง

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

เกาะสีชัง

  เกาะสีชัง เป็นเกาะใหญ่ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากฝั่งศรีราชา ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่จอดพักเรือสินค้านานาชาติ และเป็นเกาะที่น่าท่องเที่ยว ในบรรยากาศแบบ ท้องถิ่น ซึ่งสามารถแวะท่องเที่ยวในวันเดียวหรือพักค้างคืนก็ได้ แหล่งชุมชนเกาะสีชังอยู่ทาง ด้านตะวันออกของเกาะ เป็นที่ตั้งของท่าเรือเทววงศ์ (ท่าล่าง)

          และเป็นสถานที่สำหรับเริ่มต้นการเดินทางด้วยรถสามล้อเครื่องหรือ "สกายแล็ป" (รถที่คล้ายรถตุ๊ก ๆ แต่มีขนาดกว้าง และยาวกว่า) ไปยังจุดอื่น ๆ บนเกาะสีชัง และแม้เกาะสีชังจะไม่มีชายหาดสวยงามลือชื่อ เหมือนกับเกาะแก่งอื่น ๆ ของเมืองไทย แต่ทัศนียภาพก็งดงาม แถมมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ที่รอให้นักเที่ยวทั้งหลายไปเยือนกันด้วยนะ
เกาะสีชัง
 
 เกาะสีชัง
 
เกาะสีชัง
 
 เกาะสีชัง
จุดท่องเที่ยวบนเกาะสีชังมีมากมาย และที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อก็ได้แก่
          พระจุฑาธุชราชฐาน (ท่าวัง)      
          เกาะ สีชังถือเป็นเกาะประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของเมืองไทย เนื่องจากว่าในอดีตมีพระเจ้าแผ่นดินถึง 3 พระองค์ คือรัชกาลที่ 4 ,รัชกาลที่ 5 , รัชกาลที่ 6 เสด็จมาประพาสพักผ่อน โดยเฉพาะรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชฐานบนเกาะขึ้นเป็นแห่งแรก เพื่อเป็นที่ประทับในฤดูร้อน พร้อมพระราชทานนามว่า "พระจุฑาธุชราชฐาน" ตามพระนามของพระราชโอรสที่ประสูติบนเกาะแห่งนี้ 

          พระจุฑาธุชราชฐาน อยู่ห่างจากท่าเทววงศ์ลงมาทางใต้ของเกาะเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมไทยผสมตะวันตก ภายในบริเวณมีสภาพภูมิทัศน์ที่งดงาม ด้านหน้าเป็นชายหาดท่าวัง สิ่งที่น่าสนใจในพระราชฐานนี้นอกจาก อาคารพระจุฑาธุชราชฐาน ที่งดงามด้วยด้วยสถาปัตยกรรมไม้สไตล์เรือนขนมปังขิงแล้ว บริเวณรอบข้างก็ยังมี ตึกวัฒนาเป็นตึกสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า ตึกผ่องศรี เป็นตึกแปดเหลี่ยมชั้นเดียว ตัวตึกทาสีขาวมี 9 ประตู ตึกอภิรมย์ ตึกสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สร้างอย่างเรียบง่ายแต่ลงตัว 

          นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ได้แก่ สระน้ำ บ่อน้ำ สะพานท่าเทียบเรือ ประภาคาร และที่นี่ยังมีบ่อน้ำจืดที่ถูกค้นพบในสมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ใกล้ๆ กันอีกด้วย
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง

เกาะสีชัง
เกาะสีชัง

          ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ และมณฑปรอยพระพุทธบาท 

          ตั้ง อยู่บนเขาห่างจากท่าเรือเทววงศ์ไปทางด้านเหนือของเกาะ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเกาะสีชังให้ความเคารพนับถือ ลักษณะเป็นถ้ำซึ่งดัดแปลงเป็นศาสนสถาน ที่ผสมผสานด้วยสถาปัตยกรรมจีนและไทย จากบริเวณศาลมองเห็นทิวทัศน์บ้านเรือนด้านหน้าเกาะได้ชัดเจนศาลเจ้าพ่อเขา ใหญ่นอกจากจะเป็นที่เคารพสักการะของคนสีชังแล้ว ยังเป็นที่สักการะที่ชาวต่างประเทศให้ความเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน มีคนมาบวงสรวง กราบไหว้กันอย่างเนืองแน่น ส่วนมณฑปรอยพระพุทธบาทนั้น อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเขาเดียวกับศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ รัชกาลที่ 5 ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานไว้บนยอดเขา ซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ทะเลอันสวยงามได้โดยรอบ

เกาะสีชัง
 
 เกาะสีชัง
          ช่องเขาขาด หรือ ช่องอิศริยาภรณ์ 
                    อยู่ ด้านหลังของเกาะ หากนั่งเรือผ่านจะเห็นเป็นช่องเขา ในบริเวณมีสะพานสำหรับเดินชมทิวทัศน์ สามารถชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม มีหาดหินกลม ซึ่งเต็มไปด้วยหินกลม ๆ ขนาดต่าง ๆ มากมาย ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับชมทิวทัศน์ของรัชกาลที่ 5 สำหรับท้องทะเลแถบนี้มีหาดหินก้อนกลมเกลี้ยงเป็นที่มา ของชื่อหาด ส่วนบริเวณช่องเขาขาดจะมีทางเดินสีขาว ทอดตัวยาวลงสู่ เบื้องล่างลดระดับไปตามไหล่เขา โดยทางเดินสายนี้ 2 ข้างทางประดับประดาไปด้วย ดวงไฟหงส์ไปจนสุดสาย และบริเวณนี้ยังเป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวนิยมมาตกปลากันเป็นจำนวนมาก
เกาะสีชัง
เกาะสีชัง

          หาดถ้ำเขาพัง  
          เป็นชายหาดแห่งเดียวของเกาะ อยู่ทางด้านตะวันตก มีลักษณะเป็นชายหาดกว้าง สะอาดและสวยงาม มีทรายละเอียด น้ำใสสะอาดเหมาะแก่การเล่นน้ำ ถ้าอยากเล่นน้ำทะเล หรือ เตรียมตัวมาพักค้างแรม ควรมาพักที่หาดถ้ำพังแห่งนี้ ที่มีโค้ง หาดยาวเหยียดเป็นรูปวงพระจันทร์ หาดทรายขาว และ คลื่นลมแรง ทำให้ได้บรรยากาศของพักผ่อนตากอากาศ ได้เป็นอย่างดี แถมยังมีร้านอาหารและที่พักให้บริการ บริเวณตอนเหนือของหาดเป็นแหลมชื่อว่า แหลมถ้ำพัง ซึ่งเป็นจุดชมวิวยามพระอาทิตย์ตก สำหรับขาลุยที่ชอบการแค้มปิ้งกางเต็นท์ ก็สามารถลุยได้สบาย ไม่เสียค่าใช้จ่าย เสียเพียงค่าอาบน้ำจืดและเข้าห้องน้ำเพียงเท่านั้น 






อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา

การเดินทาง

ระยะทางจากตัวเมืองขึ้นไปจนถึงยอดดอยอินทนนท์ประมาณ 106 กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่-จอมทอง ถึงหลักกิโลเมตรที่ 57 ก่อนถึงอำเภอจอมทอง 1 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1009 สายจอมทอง-อินทนนท์ ระยะทาง 48 กิโลเมตรถึงยอดดอยอินทนนท์ เป็นถนนลาดยางอย่างดีแต่ทางค่อนข้างสูงชัน รถที่นำขึ้นไปจะต้องมีสภาพดีนักท่องเที่ยวต้องเสียค่าธรรมเนียมบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 8 ผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวสามารถขึ้นรถสองแถวที่หน้าวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารหรือที่น้ำตกแม่กลาง ซึ่งจะเป็นรถโดยสารประจำทางไปจนถึงที่ทำการอุทยานฯตรงหลักกิโลเมตรที่ 31 และหมู่บ้านใกล้เคียง ค่าโดยสาร 20 บาทต่อคน แต่หากต้องการจะไปยังจุดต่างๆ ต้องเหมาไปคันละประมาณ 800 บาท
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 9 ของเส้นทางหมายเลข 1009 มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ และมีนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ สัตว์ป่า และอื่นๆ
บริเวณที่ทำการมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม รวมถึงบ้านพัก ร้านอาหาร และสถานที่กางเต็นท์สำรองที่พักล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์ที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 7223, 0 2579 5734
เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) การใช้สถานที่เพื่อการพักค้างแรมหรือจัดกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต้องขออนุญาตจากหัวหน้าอุทยานฯเป็นลายลักษณ์อักษร
สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ
            โครงการเพาะพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์  โครงการนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ที่กำลังจะหมดไปจากป่าธรรมชาติ สภาพแวดล้อมเป็นสวนหินที่สวยงาม และทางโครงการฯ ได้จัดทำสวนกล้วยไม้ และสวนดอกไม้เมืองเหนือไว้อย่างสวยงาม
ดอยอินทนนท์  
             โครงการหลวงอินทนนท์ ถูกตั้งเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาเปลี่ยนอาชีพ จากการปลูกฝิ่นมาเป็นเกษตรกรรม ภายในโครงการหลวงนั้นมีพรรณไม้ให้ชมหลากหลาย เช่น สวนเฟิน สวนกระบองเพชร และไม้ดอกไม้ประดับเมืองเหนือ อีกทั้งยังมีร้านอาหารไว้ให้บริการอีกด้วย
ดอยอินทนนท์
            จุดชมทิวทัศน์ กม. 41 จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน
ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ
            ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท  
            เด็ก คนละ 10 บาท  
            กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม  
            กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก  
             รถจักรยาน 10 บาท/คัน  
             รถจักรยานยนต์ 20 บาท/คัน  
             รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท/คัน  
             รถยนต์ 6 ล้อ 100 บาท/คัน  
             รถยนต์ไม่เกิน 10 ล้อ 200 บาท/คัน  
ดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติทับลาน


ทับลาน ตั้งอยู่ที่ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี การเดินทางจากทางหลวงหมายเลข 33 ถึงอำเภอกบินทร์บุรี เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 304 ระยะทางประมาณ 32 กม. อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่อยู่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 2,240 ตร.กม. หรือ 1,400,000 ไร่ นับเป็นป่าลานที่ขึ้นเองตามธรรมชาติแห่งสุดท้ายของประเทศไทย เป็นพันธุ์ไม้ ดึกดำบรรพ์ตระกูลปาล์มที่หายาก จะออกดอกเมื่อต้นมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
ช่วงฤดูออกดอกในราวเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ดอกมีสีเหลืองสดสวยงามมาก หลังออกดอกแล้วต้นลานนั้นจะตายไป นอกจากดงลานแล้ว พื้นที่อุทยานฯ ยังปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง และป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและนกชนิดต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่
อุทยานแห่งชาติทับลานที่ทำการอุทยานทับลาน

อุทยานแห่งชาติทับลาน

สวนพักผ่อนหย่อนใจ
อยู่ติดกับที่ทำการอุทยานฯ พื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ประกอบด้วยต้นลานและพันธุ์ไม้นานาชนิด สภาพร่มรื่น มีซุ้มสำหรับนั่งพักผ่อน กลางสวนมีสระน้ำขนาดใหญ่

-----------------------------------------------------------------
น้ำตกทับลาน (เหวนกกก)
อยู่ห่างจากบ้านทับลานประมาณ 7 กม. ต่อด้วยทางเดินเท้า เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น
-----------------------------------------------------------------
อ่างเก็บน้ำทับลาน
อยู่ห่างจากบ้านทับลานประมาณ 1 กม. เป็นอ่างเก็บน้ำที่สวยงามล้อมรอบไปด้วยภูเขา อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน
-----------------------------------------------------------------
น้ำตกห้วยใหญ่
อยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานฯ แยกจากทางหลวงหมายเลข 304 ตรงหลักกม.ที่ 79 เข้าไปอีก 6 กม. ในหน้าแล้งนำรถยนต์เข้าได้เกือบถึงตัวน้ำตก น้ำตกห้วยใหญ่เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่ง มีความสูงประมาณ 50 เมตร กว้างประมาณ 30 เมตร
อุทยานแห่งชาติทับลาน ยังไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว ผู้สนใจจะพักแรมในอุทยานฯ สามารถกางเต้นท์พักแรมได้ โดยสอบถามรายละเอียดที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ตู้ ปณ. 37 อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี หรือที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-5734, 579-7223

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ดอยอินทนนท์


ดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)
ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูล บางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์"
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มี พื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6


อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
  อุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม  อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี    ประกอบด้วย สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่านานาชนิด มีจุดเด่นที่สวยงามตามธรรมชาติมากมาย เช่น  ผาชัน   น้ำตกสร้อยสวรรค์  เสาเฉลียง   ถ้ำปาฏิหารย์  ภูนาทาม เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปี ที่บริเวณผาขาม ผาแต้ม ผาเจ็ก ผาเมย    และถือได้ว่าเป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งแรกในประเทศไทยที่มีแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดน ระหว่างประเทศไทย     และประเทศลาวเป็นแนวเขตอุทยานแห่งชาติที่ยาวที่สุด ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ป่าเขา ทางฝั่งประเทศลาวได้เป็นอย่างดี



ประวัติความเป็นมา
                      ในอดีต ชาวบ้านท้องถิ่นที่ทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าดังกล่าว เนื่องจากมีความเชื่อว่า “ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านี้มีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไป      อาจเจ็บไข้หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ”    พื้นที่ป่าภูผาบริเวณผาแต้มได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป    เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มาทำการสำรวจและค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม   ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์    จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ    ลงวันที่   26 พฤษภาคม พ.ศ.2524 เสนอต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกองอุทยานแห่งชาติได้ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดงหินกอง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ)    ไปทำการสำรวจหา

  

ข้อมูลเพิ่มเติม ปรากฏว่า พื้นที่บริเวณที่ขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผา ปรากฏภาพเขียนสีโบราณซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงามการคมนาคมสะดวก เหมาะที่จะตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรผนวก บริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดงหินกอง กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2524 ให้นายเสงี่ยม  จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ (ดงหินกอง)ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผา โดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ     โดยได้ประกาศรวมกับบริเวณป่าใกล้เคียงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่น และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอนที่ 153 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2526 ต่อมา กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า       พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วนและอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวางเกรงว่า อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตามโครงการอีสานเขียว และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้      เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2532 ให้นายวรพล รันตสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดง  ภูโหล่น ท้องที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี   ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา   ฉบับพิเศษหน้า 90-92 เล่ม 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2534 มีเนื้อที่ประมาณ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74  ของประเทศไทย










อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว/ Nam Nao National Park

อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

ข้อมูลทั่วไป 
สวนสนบนภูหนาว....อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวอยู่ในท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวเขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 603,750 ไร่ หรือ 966 ตารางกิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2511 กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพพื้นที่บริเวณป่าน้ำหนาว ปรากฏว่า มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด กรมป่าไม้จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2513 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2513 เห็นชอบให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 142 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2515 กำหนดบริเวณป่าน้ำหนาวในท้องที่ตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านติ้ว ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก ตำบลน้ำหนาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ และตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 603,750 ไร่ โดยประกสศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 71 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2515 เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 5 ของประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีหนังสือที่ กส 0708/2214 ลงวันที่ 1 เมษายน 2523 ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทุกแห่งได้ตรวจสอบพิจารณาชื่อตำบลที่ตกหล่นในอุทยานแห่งชาติที่รับผิดชอบ ซึ่งอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวได้มีหนังสือที่ กส 0708(นน)/223 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2525 รายงานว่า ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 142 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2515 ได้กำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมถึงท้องที่ตำบลปากช่อง และตำบลท่าอิบุญ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ด้วย แต่มิได้ระบุชื่อตำบลทั้ง 2 ไว้
กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 เห็นชอบให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดขยายเขตอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมตำบลที่ตกหล่นได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวในท้องที่ตำบลท่าอิบุญ และตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2525 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 137 ลงวันที่ 26 กันยายน 2525
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวลักษณะภูมิประเทศ 
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตกั้นระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงทอดยาวผ่านจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นเนินยอดป้านที่เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกบริเวณนี้ในอดีต มีความสูงอยู่ระหว่าง 650-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วย ภูผาจิต ภูกุ่มข้าว โดยภูด่านอีป้องเป็นจุดสูงสุด มีความสูง 1,271 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบขึ้นเป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของลำธารสายยาว เช่น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย ห้วยขอนแก่น ห้วยน้ำเชิญ ซึ่งไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนจุฬาภรณ์
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวลักษณะภูมิอากาศ 
โดยทั่วไปอากาศหนาวเย็นในตอนดึกและตอนเช้า ส่วนใหญ่ตอนกลางวันอากาศเย็นสบาย จึงกล่าวได้ว่า อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 25 องศาเซลเซียส ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ส่วนใหญ่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมาก จนบางครั้งน้ำค้างจะกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในเดือนธันวาคมและมกราคม ซึ่งในบางปีอุณหภูมิจะลดต่ำถึง 0 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า 
ป่าน้ำหนาวเป็นป่าไม้ผืนใหญ่ติดต่อกัน ประกอบด้วยป่าหลายชนิดประกอบด้วย 
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวป่าดิบชื้น พบบริเวณหุบเขาและริมลำห้วย ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง มะหาด ยมหอม ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหวาย และปาล์ม เป็นต้น 
ป่าดิบเขา เป็นป่าส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติพบขึ้นบริเวณยอดเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นก่อสกุลต่างๆ เช่น ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อตาหมูน้อย ก่อตาหมูหลวง เป็นต้น 
ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นตามไหล่เขาต่อจากป่าดงดิบทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ และกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ ทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก งิ้วป่า ยอป่า ชิงชัน ซ้อ เป็นต้น 
ป่าสนเขา พบในที่ประมาณ 700-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีสนสามใบ และส่วนใหญ่จะขึ้นปะปนอยู่กับป่าเต็งรัง พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา พบทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติบริเวณสวนสนภูกุ่มข้าว ดงแปก และที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 
ป่าเต็งรัง เป็นป่าโปร่งขึ้นอยู่บริเวณที่แห้งแล้ง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ หน้าดินตื้น เป็นกรวดหรือลูกรัง ทำให้ต้นไม้แคระแกร็น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง กราด รกฟ้า ฯลฯ พืชพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นหญ้าเพ็ก พบบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติทั้งสองข้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 และทุ่งหญ้า ประกอบไปด้วยหญ้าคา หญ้าเพ็ก มีพันธุ์ไม้ใหญ่ปะปนอยู่บ้าง เช่น ติ้ว กระโดน และแต้ว เป็นต้น
สวนสนภูกุ่มข้าวเนื่องจากป่าส่วนหนึ่งเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้าและป่าดิบ มีดินโปร่งและน้ำไหลผ่านตลอดปี จึงทำให้ป่านี้มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า เก้ง เสือโคร่ง เสือดาว ค่าง หมีควาย หมีคน เลียงผา หมาป่า กระจง เม่น หมูป่า กระต่ายป่า ค้างคาวมงกุฎหูโตมาร์แชล ค้างคาวไอ้แหว่งน้อย เต่าปูลู และเต่าเดือย สำหรับช้างป่านั้นมีอยู่ทั่วไป ซึ่งเราจะเห็นกองมูลช้างที่ถ่ายไว้ริมทางหลวงอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังมีนกชนิดต่างๆ มากว่า 200 ชนิด ตามทางเดินในป่าจะพบนกสีสวยๆ อยู่เสมอ เช่น นกแก้ว นกขุนแผน นกหก นกพญาปากกว้าง นกเดินดง นกแต้วแร้ว นกโพระดก นกหัวขวาน นกเหงือก นกกระจ้อย นกกินแมลงชนิดต่างๆ ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ป่า เป็นต้น และยังมีความหลากหลายของผีเสื้อมากกว่า 340 ชนิด
จุดชมทิวทัศน์ถ้ำผาหงษ์ 
ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 39 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอยหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 300 เมตร มีลักษณะเป็นเขาสูง มีทางเท้าเดินขึ้นยอดเขาประมาณ 200 เมตร เพื่อชมทิวทัศน์และชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็น เป็นถ้ำขนาดเล็ก ภายในมีช่องหลืบแคบๆ ซับซ้อน มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม เป็นที่อยู่อาสัยของค้างคาวหลายชนิด โดยเฉพาะค้างคาวมงกุฎมาร์แชล ซึ่งเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่โดยรอบเป็นป่าไผ่และชะง่อนหินแหลมคม
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ผาล้อมผากองสวนสนบ้านแปก 
สวนสนบ้านแปก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดงแปก มีทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 49 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอยหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 5 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นป่าสนสองใบขึ้นอยู่เป็นกลุ่มใหญ่เพียงชนิดเดียวตามธรรมชาติ ต้นไม้พื้นล่างประกอบด้วยทุ่งหญ้าและหญ้าเพ็กเป็นจำนวนมาก มีความสวยงาม ประกอบกับเส้นทางเดินเข้าสวนสนบ้านแปกได้ผ่านป่าที่หลากหลายทั้งป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา ระหว่างทางจะมีโอกาสพบสัตว์ป่าและนกนานาชนิด และในช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ระหว่างทางจะมีกล้วยไม้ป่าและพันธุ์ไม้หลายชนิดออกดอกสวยงาม
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - ดูนก
สวนสนภูกุ่มข้าว 
ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 53 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอยหล่มสัก-ชุมแพ) มีทางลูกรังมาตรฐานจากแยกกิโลเมตรที่ 53 ถึงสวนสนภูกุ่มข้าว ระยะทาง 15 กิโลเมตร เป็นป่าสนสามใบ มีต้นสนขนาดใหญ่มีความสูงตั้งแต่ 30-40 เมตร ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติอย่างหนาแน่นแทบไม่มีไม้อื่นปะปนอยู่ มีพื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ไม้พื้นล่างประกอบด้วยทุ่งหญ้าคา หญ้าเพ็ก จำนวนมากเช่นเดียวกัน ในฤดูแล้ง ทุ่งหญ้าใต้ต้นสนจะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลแก่ พอถึงฤดูฝนใหม่ทุ่งหญ้าเหล่านี้ก็จะกลับเขียวอีกครั้งหนึ่ง เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไป โดยเฉพาะฤดูฝนตามทุ่งหญ้าจะมีพันธุ์ไม้หลากสีนานาพรรณขึ้นอยู่อย่างสวยงามมาก
บริเวณสวนสนนี้ มีเนินเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง เรียกว่า “ภูกุ่มข้าว” สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 880 เมตร เป็นเนินเขาที่เป็นจุดเด่นจุดหนึ่งท่ามกลางสวนสน เมื่อขึ้นไปยืนบนเนินเขาภูกุ่มข้าว จะเห็นแนวยอดสนอยู่ในระดับสายตา สามารถมองเห็นแนวยอดสนเป็นแนวติดต่อกันพืดทั้งสี่ด้านของภูกุ่มข้าว ดูแล้วจะเห็นคล้ายๆ ท้องทะเลของยอดสน เมื่อมองไปทางทิศใต้จะเห็นอ่างน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ (น้ำพรม) ที่กว้างใหญ่
กิจกรรม -ดูนก - ชมทิวทัศน์ - ชมพรรณไม้ 
น้ำตกทรายทองน้ำตกเหวทราย 
ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 67 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ดอนหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้า 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยสนามทรายซึ่งมีต้นน้ำที่ป่าดงดิบชื่อดงแหน่งไหลผ่านป่าซำผักคาว ลำห้วยสนามทรายนี้เป็นแนวธรรมชาติที่แบ่งเขตแดนระหว่างกิ่งอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ กับอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ น้ำตกเหวทราย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร บริเวณด้านใต้น้ำตกมีแอ่งน้ำลึกสามารถลงเล่นน้ำและใต้น้ำตกมีชะง่อนหินขนาดใหญ่เป็นเพิงสามารถพักแรมหลบฝนได้ บรรยากาศบริเวณลำห้วยน่าเดินเล่น มีต้นไม้ปกคลุมตลอด ในฤดูฝนน้ำตกมีประมาณน้ำมากและสวยงามมาก
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก
น้ำตกทรายทอง 

เป็นน้ำตกที่อยู่ห่างจากน้ำตกเหวทรายประมาณ 500 เมตร มีความกว้างที่สุดประมาณ 30 เมตร สูง 4 เมตร มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะในฤดูฝนน้ำตกมีประมาณน้ำมากตกลงมาเป็นหน้ากว้าง 30 เมตร สวยงามมากเช่นเดียวกัน
กิจกรรม -ดูผีเสื้อ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก 
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวภูผาจิต 
ภูผาจิต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภูด่านอีป้อง ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 69 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ดอนหล่มสัก-ชุมแพ) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 10 กิโลเมตร ทางค่อนข้างลำบาก ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 6-7 ชั่วโมง สภาพป่าสวยงามมาก ลักษณะเด่นตั้งโดดเดี่ยวบนที่ราบสูง ลักษณะสัณฐานคล้ายภูกระดึงแต่เล็กกว่า เป็นภูเขาที่มียอดราบแบบโต๊ะ มีไม้สนขึ้นอยู่ประกอบด้วยป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ มีต้นไม้มีค่าหลายชนิด ภูเขานี้มียอดสูงสุดในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว สูง 1,271 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
กิจกรรม -ดูนก - ดูผีเสื้อ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - ชมทิวทัศน์
ผาล้อมผากอง 
ทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 40 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นน.2 (ภูผากลางดง) ระยะทางเดินเท้าประมาณ 5-7 กิโลเมตร ลักษณะเป็นภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,134 เมตร เป็นเขาหินปูนเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบๆ บริเวณได้ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วยพรรณไม้ที่มีค่ามาก บริเวณใกล้เคียงยังมีผากลางโหล่น มีความสูงประมาณ 850 เมตร ผาต้นฮอม มีความสูงประมาณ 900 เมตร ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามมากเช่นเดียวกัน
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ถ้ำใหญ่น้ำหนาวถ้ำใหญ่น้ำหนาว 
ถ้ำใหญ่น้ำหนาว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าภูน้ำริน มีทางเข้าอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 60 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า บ้านหินลาด มีทางรถยนต์เข้าถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นน.6 (ถ้ำใหญ่น้ำหนาว) ประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเขาหินปูนสูงประมาณ 955 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถ้ำใหญ่น้ำหนาวเป็นถ้ำใหญ่มีความงามวิจิตรพิศดารโดยธรรมชาติ มีหินงอกหินย้อยและที่แปลกที่สุดคือ มีน้ำไหลหรือน้ำรินออกจากปากถ้ำ ภายในถ้ำยังเป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมากอีกด้วย โดยมีชนิดที่เป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์คือ ค้างคาวมงกุฎมาร์แชล ค้างคาวหูหนูยักษ์ และค้างคาวท้องน้ำตาลใหญ่ ภายในถ้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ช่วงแรกระยะทางประมาณ 400 เมตร มีทางเดินเท้าไปตามคูหาต่างๆ ซึ่งมีหินงอกหินย้อยและเสาถ้ำ ทางเดินจะไปสุดที่คูหาซึ่งมีม่านหินงดงาม ช่วงที่ 2 จากระยะทาง 400-1,000 เมตร จะมีทางลัดเลาะ บางครั้งต้องมุดและปีป่ายเข้าไป ช่วงที่ 3 ระยะทางจาก 1,000 เมตร เข้าไป จะมีลำธารน้ำรินไหล ถ้ำมีความลึกประมาณ 4.5 กิโลเมตร
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
น้ำตกตาดพรานบา 
ทางเข้าอยู่ใกล้ที่ว่าการกิ่งอำเภอน้ำหนาว กิโลเมตร 20 ทางหลวงสายบ้านห้วยสนามทราย-อำเภอหล่มเก่า เป็นทางลูกรังรถยนต์เข้าถึงน้ำตก มีลักษณะเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ปานกลาง ตกจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตร น้ำตกจากหน้าผาสูงพุ่งเป็นลำสู่เบื้องล่างเป็นสองชั้น มีน้ำซึ่งเกิดจากลำน้ำเชิญตลอด สาเหตุที่น้ำตกมีชื่อว่า ตาดพรานบา เนื่องจากพรานบาเป็นผู้เข้าไปพบน้ำตกแห่งนี้เป็นคนแรก สำหรับคำว่าตาดนั้นเป็นภาษาพื้นบ้านท้องถิ่นหมายถึง น้ำตก
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก
ภูผาจิตจุดชมทิวทัศน์ภูค้อ 
ตั้งอยู่บริเวณ กม. 46 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (หล่มสัก-ชุมแพ) เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นอยู่ในยามเช้า สามารถมองเห็นผืนป่าสวนสนภูกุ่มข้าวสลับกับป่าดงดิบ โดยมีฉากหลังเป็นภูกระดึงและภูผาจิต นอกจากนี้ทางอุทยานแห่งชาติยังได้จัดทำเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - ชมทิวทัศน์
ป่าเปลี่ยนสี 
บริเวณกิโลเมตรที่ 63-70 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายหล่มสัก-ชุมแพ ในประมาณเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ผืนป่าบริเวณนี้ซึ่งเป็นป่าผสมผลัดใบ ก่อนที่พันธุ์ไม้จะผลัดใบจะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติของป่าเปลี่ยนสีที่สวยงามน่าชมยิ่ง โดยเฉพาะที่ภูหลังกงเกวียน จุดที่มองเห็นภูหลังกงเกวียนได้ชัดเจนที่สุดคือ บริเวณ กม.ที่ 61 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ 
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวได้จัดทำทางเดินเท้าสำหรับเที่ยวชมธรรมชาติในป่าไว้หลายสาย เพื่อให้นักท่องเที่ยวผู้ชอบเดินป่าสามารถชมธรรมชาติได้ทั่วถึง ก่อนการเดินศึกษาธรรมชาติต้องแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทราบก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเอง ดังนี้
เส้นทางเดินสายที่ 1 เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางแยกใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระหว่างทางจะได้เห็นสัตว์ป่าบางชนิด ได้แก่ หมาไม้ และนกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในฤดูฝนจะพบรอยช้างจำนวนมาก เส้นทางนี้วนกลับออกมาสู่บริเวณทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
สวนสนบ้านแปกเส้นทางเดินสายที่ 2 เริ่มจากทางเดินตรงข้ามที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ลัดเลาะผ่านป่าเต็งรัง ผ่านบ่อดินโป่งซึ่งมีช้าง กวาง และสัตว์อื่นๆ ไปกินอยู่เสมอ ทางสายนี้จะไปสิ้นสุดที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นน.4 (ซำบอน) รวมระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และถ้าเดินกลับที่พักต้องเดินต่ออีกประมาณ 5 กิโลเมตร หากต้องการเดินชมธรรมชาติต่อ สามารถใช้เส้นทางเดินเท้าอันราบเรียบที่ทางอุทยานแห่งชาติจัดไว้ โดยเริ่มต้นจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ เส้นทางนี้ผ่านใจกลางอุทยานแห่งชาติ สุดทางจะเป็นจุดเด่นอยู่ท่ามกลางสวนสน เมื่อขึ้นไปยืนอยู่บนเนินภูกุ่มข้าวจะเห็นยอดสนในบริเวณสวนสนอยู่ในระดับสายตาเป็นแนวติดต่อกันเป็นพืดทั้งสี่ทิศ มองดูแล้วคล้ายๆ กับท้องทะเลยอดสนก็มิปาน และระหว่างทางเดินก็อาจจะได้พบสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง อีกด้วย ระยะทางจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติถึงสวนสนประมาณ 12 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 จุดเริ่มต้นอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปประมาณ 800 เมตร เป็นทางเข้าชมป่าสน หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ป่าแปก ทางสายนี้นักท่องเที่ยวจะได้ชมไม้สนขึ้นเรียงรายอยู่เป็นระยะๆ และอาจจะได้พบช้างป่า กวางป่า เก้ง รวมทั้งรอยเท้าเสือด้วย
นอกจากนี้ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวยังมีเส้นทางเดินป่าระยะไกลอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางพิชิตยอดภูผาจิต ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 15 กิโลเมตร เส้นทางเที่ยวถ้ำห้วยประหลาด ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 15 กิโลเมตร และ เส้นทางเที่ยวป่าผาล้อม-ผากลอง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
อ. น้ำหนาว จ. เพชรบูรณ์ 67260
โทรศัพท์ 0 5672 9002 อีเมล์ reserve@dnp.go.th
การเดินทาง
รถยนต์ 
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 103 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอหล่มสักประมาณ 55 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถึง หลักกิโลเมตรที่ 50 มีป้ายชี้ทางเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถ้าไปโดยรถประจำทางสามารถขึ้นรถโดยสายจากขอนแก่นหรือหล่มสัก ซึ่งผ่านหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติทุกวัน